วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เห็ดเผาะ

ชื่อสามัญ Barometer Earthstars

ชื่อวิทยาศาตร์ Astraeus hygrometricus(Pers.) Morgan

ชื่ออื่น เห็ดถอบ เห็ดเหียง เห็ดหนัง เห็ดดอกดิน

ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดเผาะมีลักษณะเป็นลูกกลมๆ ขนาด 1.5-3.5 ซม. ไม่มีลำต้น ไม่มีราก ชอบขึ้นตามดินร่วนที่ถูกไฟไหม้ เห็ดอ่อนมีสีนวล เปลือกนอกกรอบ ห่อหุ้มสปอร์สีขาวนวล เห็ดแก่เปลือกสีน้ำตาล ถึงดำ สปอร์ข้างในเป็นสีดำ เมื่อแก่มากพื้นผิวจะขรุขรุ และแยกออกเป็นรูปดาวเห็นสปอร์ข้างใน

ฤดูกาล ต้นฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคม

แหล่งปลูก พบได้ตามป่าโปร่ง บริเวณพื้นดินใต้โคนต้นไม้ที่ถูกไฟเผา ในแถบบภาคเหนือและภาคอีสาน

การกิน นิยมกินเห็ดระยะที่อ่อนอยู่ โดยนำไปแกงคั่ว และผัด หรือกินสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก

สรรพคุณทางยา บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้ช้ำใน

ลักษณะทางกายภาพ
พบในบริเวณที่ชื้น อุณหภูมิ 31°C ความชื้นสัมพัทธ์ 93% pH 6
ความเข้มแสง 304 Lux หลังฝนตกหนัก 2-3 วัน และแดดร้อน อากาศร้อนอบอ้าว พบในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

ลักษณะการเกิด
เห็ดเป็นก้อนกลม เกิดเป็นกลุ่มบนพื้นดินในป่าเต็งรัง

ลักษณะสัณฐานวิทยา
ดอกเห็ดอ่อนมีรูปร่างกลมผิวเรียบสีขาวหรือมีรอยเปื้อนดินผิวด้านนอกของเห็ดเผาะจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอ่อนจนไปเป็นสีน้ำตาลแก่ มีเนื้อเหนียวและแข็งขึ้น เห็ดเผาะ มีเปลือก 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2-3 ชั้น ติดกันจะหนาประมาณ 1-3 มิลลิเมตร

ลักษณะสปอร์
สปอร์ของดอกเห็ดบรรจุเต็ม สปอร์ของเห็ดเผาะกลมมีความหนาเล็กน้อย มีหนามหยาบๆ โดยรอบมีสีน้ำตาลแดง

ลักษณะทั่วไป
รับประทานได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...