วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

เสน่ห์จันทน์แดง (เสน่ห์จันทร์แดง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalomena rubescens Kunth.

วงศ์ : ARACEAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้านสาขา


ต้น: โตประมาณ 1-2 นิ้ว และลำต้นสูงประมาณ 4 นิ้วนอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ

ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว แตกใบออกตรงส่วนยอดของลำต้น ซึ่งมีก้านใบเป็นสีแดงจะยาวกว่าแผ่นใบเสียด้วยซ้ำ ตรงโคนก้านใบจะเป็นกาบห่อหุ้มลำต้นอยู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจปลายแหลม โคนใบเว้าลึก พื้นใบเป็นสีเขียวสด แต่เส้นใบเป็นสีแดง ขนาดของใบกว้างประมาณ 4-8 นิ้วยาว 6-12 นิ้ว

ดอก : ออกเป็นช่อ ตรงกลางต้น ลักษณะของดอกจะเป็นแท่งกลมและยาว ช่อดอกยาวประมาณ 3-4 นิ้ว อวบ และจะมีกาบสีแดงห่อหุ้มดอกเอาไว้

ผล : มีขนาดเล็ก และสด จับดูจะนุ่ม ๆ

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร ชอบดินที่มีความชื้นสูงแต่ต้องระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหรือแยกหัว

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบ และหัว (เหง้า)

สรรพคุณ : ทั้งต้น จะมีสารเป็นพิษชนิดหนึ่งอยู่ฉะนั้นจึงใช้เป็นยาพิษ

ใบ ใช้รักษาแผล และเป็นพิษเช่นกัน

หัว (เหง้า) ใช้เป็นยาทาเฉพาะภายนอกเท่านั้น คือจะช่วยแก้โรคไขข้ออักเสบ

อื่น ๆ : เสน่ห์จันทน์แดงนี้เป็นพรรณไม้ที่มีพิษชนิดหนึ่ง ฉะนั้นจึงใช้รักษาเฉพาะโรคภายนอก ซึ่งเราจะสังเกตได้จากสรรพคุณของต้น

จากเว็บ http://health.spiceday.com/

กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...