วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แห้วหมู

แห้วหมู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus rotundus L.

วงศ์ : Cyperacear

ชื่อสามัญ : Nutgrass

ชื่ออื่น : หญ้าขนหมู

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 20-40 ซม. มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวคล้ายหัวแห้วไทย แตกแขนงลำต้นเป็นเส้นแข็งเหนียวอยู่ใต้ดินและงอกเป็นหัวใหม่ได้ ใบเดี่ยว จำนวนมาก แทงออกจากหัวกว้าง 2-6 มม. ยาว 5-20 ซม. ดอกช่อ คล้ายดอกหญ้า สีน้ำตาลแดง แตกแขนงเป็น 4-10 กิ่ง ก้านช่อดอกเป็นสามเหลี่ยมตรง ผลเป็นผลแห้ง

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้หัวใต้ดินเป็นยาบำรุงหัวใจ ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ การทดลองในสัตว์พบฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดไข้ ลดความดันโลหิตและลดการอักเสบ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจาก a-cyperone นอกจากนี้พบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองด้วย

การปลูก
แห้วหมูเป็นหญ้าที่พบเห็นโดยทั่วไป ปลูกโดยการใช้หัวหรือการไหลก็ได้
เป็นวัชพืชที่ไม่ส่งเสริมให้มีการปลูก

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
หัวหญ้าแห้วหมูเป็นน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)
มีสารประกอบทางเคมีหลายชนิด จากรายงานพบว่ามีฤทธิ์ คลายอาการ เกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และสารสกัดจากแอลกอฮอล์จากรากแห้วหมู
ทำให้มีการขับปัสสาวะมากขึ้น จากการที่มีน้ำมันหอมระเหยและลดการเกร็ง
ตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียดได้ดี
กองวิจัยการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน

วิธีใช้
หัวหญ้าแห้วหมู ใช้เป็นยาแก้ท้องอืด
ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด โดยใช้หัวหญ้าแห้วหมู 1 กำมือ
(60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มหรือใช้หัวสดครั้งละ
5 หัว โขลกให้แหลกผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก็ได้ ความจริงไม่ต้องปลูกหญ้าแห้วหมูเลย
สามารถพบเห็นเสมอตามข้างถนนหนทางและ ตามพื้นที่ราบทั่วไป มีหญ้าแห้วหมูขึ้นอยู่เสมอ
หาได้ง่ายมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...