วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

พุทรา

คติความเชื่อ

พุทราเป็นไม้ตามทิศที่ปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ส่วนใหญ่นิยมปลูกคู่กับมะยม คาดว่าคงเพราะผู้คนจะได้นิยมไม่สร่างซากระมัง

ชื่อพื้นเมือง

พุทรา (ไทย) มะตัน, นางต้มต้น, หมากทัน (จำปาศักดิ์), มะตันหลวง, มะท้อง, มะตอง, มะตันต้น (ภาคเหนือ, พายัพ)

ชื่อวิทยาศาสตร์
Zizyphus mauritiana Lamk.

วงศ์

RHAMNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พุทราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบกลมโตขนาด 1 นิ้วฟุต ตามต้นและกิ่งก้านมีหนามออกดอกเป็นช่อสีเหลืองเล็กๆ มีกลิ่นเหม็นมาก ผลโตเท่าผลมะไฟงามๆ แต่บางชนิดผลกลม ปลายแหลมคล้ายผลละมุดไทย บางชนิดก็มีรสหวานสนิท บางชนิดก็เปรี้ยวฝาดต่างๆ กัน โดยมากที่เกิดเองในป่ามีรสเปรี้ยว ฝาด

การปลูก

พุทราเป็นไม้ที่มักเกิดขึ้นเองตามป่าราบโดยทั่วไป ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกต้น ใบ ผลดิบ ผลสุก

รสและสรรพคุณในตำรายาไทย

เปลือกต้น, ใบ รสฝาดอมเปรี้ยว แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน
1. ผลดิบ รสฝาด แก้ไข้
2. ผลสุก หวานฝาดเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ เป็นยาระบาย
3. ทั้ง 5 ฝาดเฝื่อน แก้บวม แก้พยาธิ ฝีทั้งปวง แก้ลงท้องตกโลหิต

ขนาดและวิธีใช้

1. แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แพทย์พื้นบ้านใช้เปลือกต้นพุทราต้มรับประทาน
2. ยาแก้ทราบชักของเด็ก ใช้เมล็ดเผาไฟป่นทำเป็นยา
3. แก้หวัดคัดจมูกเวลาเย็นๆ ใช้ใบสดตำสุมศีรษะ
*** ในเวียดนามใช้เมล็ดทำให้สงบ นอนหลับ แก้อ่อนเพลีย ใช้เมล็ดสด 1-2 กรัมหรือเมล็ดแห้ง 6-12 กรัม ทำให้เป็นผง ถ้าแก้หืดใช้ใบแห้ง 20-40 กรัมต่อวันต้มน้ำดื่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...