ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chloranthus erectus (Bucg.-Ham) Verdc.
ชื่อวงศ์ : CHLORANTHACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : กระดูกไก่ (ภาคกลาง); เกตุเมือง, ฝอยฝา (กรุงเทพฯ); หอมไก่ (ภาคเหนือ) ; หอมไก๋ (พายัพ); กระดูกไก่ (ใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : สมุนไพรกระดูกไก่เป็นเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 0.5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง
ใบ : ใบกระดูกไก่เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปรีีแกมรูปหอก กว้าง 3-5 (-6) เซนติเมตร ยาว 5-10 (-2.5) เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบทางด้านปลายใบหยัก เส้นแขนงใบ 5-7 (-10) คู่ ก้านใบยาว 5-10 มิลลิเมตร
ดอก : กระดูกไก่ออกดอกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอกแต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างในและมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ
ผล : ผลของกระดูกไก่มีลักษณะยาวประมาณ 6-7 มม. ผลสดจะมีสีขาว ภายในเมล็ดมี 1 เมล็ด เป็นเมล็ดที่แข็ง ค่อนข้างกลม
การขยายพันธุ์: กระดูกไก่เป็นพรรณไม้ที่มักพบได้ทั่วไปตามบริเวณริมน้ำหรือดินที่ค่อนข้างแฉะชื้นและมักพบตามที่ราบต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ราก และใบ
สรรพคุณของสมุนไพร
ลำต้น : ใช้ลำต้นของสมุนไพรกระดูกไก่เป็นยากระตุ้นยาระงับการเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยใช้นำมาต้มกับเปลือกของพวก อบเชย(cinnamomum)รับประทาน
รากและใบ : ใบและรากของกระดูกไก่ใช้แก้ไข้ กามโรค ยาขับเหงื่อนำมาชอเป็นชาดื่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น