ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : หญ้าหัวโม่ง (สุราษฏร์ธานี) , จุยโงวซัง (จีน-แต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kyllinga brevifolia Rottb.
วงศ์ : CYPERACEAE
ลักษณะทั่วไปของสมุนไพร
ต้น : เป็นพรรณไม้ประเภทเดียวกับหญ้า ลำต้นเป็นเส้นเล็กยาว มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ผิวเรียบ มีสีเขียว ลำต้นมีความสูงประมาณ 4-20 นิ้ว ลำต้นมีรากมาก เมื่อขยี้ดม มีกลิ่นหอม
ใบ : ใบมีลักษณะเป็นเส้น ยาวแคบ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นสีม่วง ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5-3 มม. ยาวประมาณ 1-4 นิ้ว
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ มีรูปทรงกลม ติดกันเป็นกลุ่มแน่น สีเขียวออกขาว ยาวประมาณ 4-8 มม. ดอกออกบริเวณปลายยอด โคนดอกมีกลีบรองช่อดอก 3 กลีบ มีลักษณะคล้ายใบยาวประมาณ 1.6-5 นิ้ว ดอกเมื่อแก่เต็มที่จะหลุดล่วงไป
ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างแบน กลมรี
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นเอง ตามบริเวณที่ชื่นแฉะทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งลำต้น และเหง้า
สรรพคุณของสมุนไพร : ทั้งลำต้นและเหง้า ใช้แห้งประมาณ 12-18 กรัม (สดประมาณ 30-60 กรัม) นำมาต้ม หรือคั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคบิด ถ่ายเป็นมูกเลือด แก้ไข้ ไอ เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ไอกรน ไข้มาลาเรีย ปวดข้อ ปวดกระดูก โรคดีซ่าน ตับอักเสบ อืดแน่นท้อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ หรือใช้ภายนอก นำมาต้มเอาน้ำ หรือตำพอกบริเวณแผลมีหนองบวมอักเสบ แผลเจ็บจากการหกล้ม ผิวหนังเป็นผลผื่นคัน แผลมัดบาด กระดูกหัก และพิษงูกัด เป็นต้น
ข้อมูลทางคลีนิค : 1. จากผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะขุ่นขาว คล้ายน้ำนม จำนวน 100 คน มีการรักษาด้วยการใช้เหง้าแห้ง และเนื้อผลลำไยแห้ง ในปริมาณเท่ากัน อย่างละ 60 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินติดต่อกันนาน 15 วัน ผลปรากฏว่าคนไข้มีอาการดีขึ้น
2. จากคนป่วยที่เป็นโรคบิดแบคทีเรียจำนวน 70 คน ได้ให้มีการรักษาโดยการใช้ทั้งลำต้นสด และเถาเครือเขาปูนสด ใช้ในปริมาณที่เท่ากัน อย่างละ 30 กรัม ต้มเอาน้ำแบ่งกินเป็น 2 ครั้ง ให้กินติดต่อกันนาน 1 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า มีผู้ป่วยมีอาการหายขาดเลย 45 คน อาการดีขึ้น 14 คน ไม่ได้ผลเลย 2 คน
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น