วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

กูดแก้ว

ชื่อพื้นเมือง : กูดแต้ม กูดแก้ว (ภาคเหนือ), กูดไก่ (เชียงราย), กูดหก (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน), กูดหัวเหล็ก (เชียงใหม่), เซ็งเขี่ยดู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectaria polymorpha (Wall. ex Hook.) Copel.

ชื่อวงศ์ : DRYOPTERIDACEAE


กูดแก้ว

Tectaria angulata (Willd.) C. Chr., DRYOPTERIDACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ทอดขนานหรือตั้งตรง มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดรูปแถบแกมรูปกึ่งสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 2 ซม. ขอบเรียบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 40 ซม. ยาวประมาณ 50 ซม. แกนกลางใบประกอบสีน้ำตาลแดง ด้านบนมีขน ด้านล่างเกลี้ยง ก้านใบสีน้ำตาลแดงหรือเกือบดำ เป็นมัน ยาวประมาณ 60 ซม. โคนมีเกล็ดแน่น ใบย่อย 2-6 คู่ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 9 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. ปลายเรียวแหลมมีติ่งยาว โคนมนถึงรูปกึ่งหัวใจ ขอบเรียบ ใบย่อยคู่ล่างสุดหยักลึกเป็นแฉก ใบย่อยที่ปลายใบใหญ่ที่สุด รูปขอบขนานแกมรูปกึ่งสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 12 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. ปลายเรียวแหลมและมีติ่ง แผ่นใบบาง เส้นกลางใบย่อยสีน้ำตาลแดง มีขนทางด้านบน นูนเห็นชัดทางด้านล่าง เส้นร่างแหเห็นได้ชัด มีเส้นสั้นอยู่ภายในช่องร่างแห ก้านใบย่อยคู่ล่างยาวประมาณ 2.5 ซม. และลดขนาดความยาวลงโดยลำดับไปหาใบย่อยคู่บนสุด กลุ่มอับสปอร์รูปกลม อยู่บนเส้นสั้นในช่องร่างแห เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มม. เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เล็กและร่วงง่าย

การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือและภาคใต้

สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามพื้นดินใกล้ลำธารในป่าดิบแล้งที่อยู่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...