ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus odoraissimus
วงศ์ : PANDANACEAE
ลักษณะ ทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม อยู่ในประเภทเดียวกับต้นเตย ลักษณะของลำต้นจะแตกเป็นกอใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 4-6 เมตร บริเวณโคนต้นจะมีรากอากาศโผล่ออกมา
ใบ : มีสีเขียว ลักษณะคล้ายกับใบสับปะรด คือจะใหญ่ ยาวและหนา ขอบใบเป็นจัก มีหนามแหลม ใต้ท้องใบมีแกนกลาง
ดอก : จะโผล่ออกมาจากกลางลำต้นพอดี ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานในเวลาตอนเย็นและมีกลิ่นหอมฉุน
การ ขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามชายน้ำ จะต้องการความชื้นและน้ำในปริมาณที่มาก ปลูกขึ้นดีในดินอุดมร่วนซุย หรือดินเหนียวปนทรายอุ้มน้ำได้ดี วิธีการขยายพันธุ์โดยการแยกกอหรือหน่อ
ส่วนที่ใช้ : ราก
สรรพคุณ : ราก ของลำเจียกมีรสเย็นและหวานเล็กน้อย นำมาปรุงเป็นยาแก้พิษเสมหะ พิษไข้ พิษเลือด ขับปัสสาวะ และรากอากาศที่โผล่ออกมาจากโคนต้นนั้น ปรุงเป็นยาแก้หนองใน แก้นิ่ว แก้ระดูขาวมีกลิ่นเหม็น แก้ปัสสาวะพิการ
อื่น ๆ : เป็นพรรณไม้ในวรรณคดีไทยที่กล่าวไว้ ซึ่งมีในเรื่องนิราศธารทองแดง อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ สมุทรโฆษคำฉันท์
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ใบ : มีสีเขียว ลักษณะคล้ายกับใบสับปะรด คือจะใหญ่ ยาวและหนา ขอบใบเป็นจัก มีหนามแหลม ใต้ท้องใบมีแกนกลาง
ดอก : จะโผล่ออกมาจากกลางลำต้นพอดี ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานในเวลาตอนเย็นและมีกลิ่นหอมฉุน
การ ขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามชายน้ำ จะต้องการความชื้นและน้ำในปริมาณที่มาก ปลูกขึ้นดีในดินอุดมร่วนซุย หรือดินเหนียวปนทรายอุ้มน้ำได้ดี วิธีการขยายพันธุ์โดยการแยกกอหรือหน่อ
ส่วนที่ใช้ : ราก
สรรพคุณ : ราก ของลำเจียกมีรสเย็นและหวานเล็กน้อย นำมาปรุงเป็นยาแก้พิษเสมหะ พิษไข้ พิษเลือด ขับปัสสาวะ และรากอากาศที่โผล่ออกมาจากโคนต้นนั้น ปรุงเป็นยาแก้หนองใน แก้นิ่ว แก้ระดูขาวมีกลิ่นเหม็น แก้ปัสสาวะพิการ
อื่น ๆ : เป็นพรรณไม้ในวรรณคดีไทยที่กล่าวไว้ ซึ่งมีในเรื่องนิราศธารทองแดง อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ สมุทรโฆษคำฉันท์
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น