วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กระต่ายจันทร์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centipeda minima (Linn.) A.Br. & Ascher

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : หญ้าจาม (เชียงใหม่) กะต่าย หญ้ากะต่ายจาม หญ้าต่ายจาม กะต่ายจาม (ภาคกลาง) หญ้ากระจาม(สุราษฎร์) หญ้าจาม(ชุมพร) เหมือดโลด (นคาราชสีมา) โฮ่วเกี๋ยอึ้มเจี๋ยะเช้า (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น : สมุนไพรกระต่ายจันทร์เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดินที่ชื้นเย็น ขนาดเล็กส่วนปลายจะแตกกิ่งก้านชูตั้งขึ้น ลำต้นที่อ่อนบางต้นก็จะมีขนยุ่งหรือบางต้นก็ค่อนข้างเรียบ

ใบ : ใบกระต่ายจันทร์ออกดก ลักษณะของใบเล็ก โคนใบสอบแคบ ปลายใบมน ริมขอบใบเว้าหยักเป็นง่ามข้างละ 2-3 หยัก ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-7 มม. ยาวประมาณ 4-22 มม.ใบอ่อนใต้ท้องใบมีขน พอแก่ขนนั้นก็จะหลุดออกเกลี้ยง

ดอก : กระต่ายจันทร์ออกดอกเป็นกระจุก ตามบริเวณง่ามใบของมัน ลักษณะของดอกค่อนข้างกลมแบนปลายกลมจักเป็นซี่ ๆ ขนาดของดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 มม.วงนอกของดอกมีกลีบดอกเป็นสีขาว ดอกวงในมีกลีบดอกเป็นสีเหลืองหรืแต้มสีม่วง ฐานดอกจะนูนไม่มีก้านดอก

เมล็ด : เมล็ดกระต่ายจันทร์มีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาว 1 มม. ส่วนปลายจะหนา เปลือกนอกมีขนเล็กน้อยสีขาว

การขยายพันธุ์ : สมุนไพรกระต่ายจันทร์เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามชายฝั่งแม่น้ำตามนาข้าวหรือตามที่ชื้นเช้นเดียวกับตะไคร้น้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวีธีการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ เมล็ด

สรรพคุณของสมุนไพร

ลำต้น ลำต้นสมุนไพรกระต่ายจันทร์เป็นยาแก้ระงับพิษ ดับพิษสุรา แก้โรคเยื่อบุตาอักเสบ บำรุงสายตาดี ริดสีดวงทวาร โรคมาลาเรีย ฟันผุ เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ใส่แผล วิธีการใช้ด้วยนำเอาลำต้นที่แห้งทำเป็นยาชง ดื่มกิน หรืออาจใช้ลำต้นสดเอามาตำให้ละเอียดแล้วทำเป็นยาพอกที่แก้มแก้โรคปวดฟัน

ใบและเมล็ด ใช้บดเป็นผงเป็นยาทำให้จาม

เมล็ด ใช้เป็นยาขับพยาธิ


จากเว็บ http://www.samunprix.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...