วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เตยหอม

เตยหอม (Toeihom) Screw pine

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandunus odorus Ridi

วงศ์ PANDANACEAE

ชื่ออื่นๆ ภาคกลาง : เตยหอมใหญ่ (Toei-hom-yai) เตยหอมเล็ก (Toei-hom-lek)

มลายู : ปาแนะวองิง (Pa-nae-wo-nging)

ถิ่นกำเนิด ไทย มาเลเซีย

รูปลักษณะ ไม้น้ำ ต้นเล็กใบยาวแยกออกจากโคนต้น ใบเขียวเกลี้ยงไม่มีหนามริมใบ มีกลิ่นหอมมันๆ ต้นแก่มีรากอากาศขึ้นอยู่ตามชายคลองที่น้ำขี้นลงถึง

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ต้นและราก-ใช้เป็นยาขับปัสสาวะกระษัย

ใบสด-ตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยใช้น้ำใบเตยผสมอาหาร แต่งกลิ่น แต่งสีขนม

เตยหอม มีประโยชน์ทางยาเฉพาะ คือ ใบมีรสเย็นหอม ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น สดใส เมื่อรับประทานแล้ว จะทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง ต้นและรากจะใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัยน้ำเบาพิการได้ดีมาก

นอกจากนี้ ถ้าเอาใบเตยหอม สดๆ จำนวน 4 ใบ พร้อมใบสดรางจืด 8 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร จนเดือดและเคี่ยว 15 นาที ดื่มขณะอุ่นครั้งละครึ่งแก้ว เช้า กลางวัน เย็น จะช่วยขับหินปูนตามข้อต่อ ให้ออกได้และทำให้ไม่ปวดข้อ เดินได้สะดวกขึ้น และยังเป็นยาช่วยล้างพิษในร่างกายได้อีกด้วย ต้มดื่มติดต่อกัน 3 วัน เว้น 1 อาทิตย์ต้มดื่มต่อ และสามารถต้มดื่มได้เรื่อยๆ ไม่มีอันตรายอะไร





กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...