ชื่อพื้นบ้านอีสาน บวบงู
ชื่อทั่วไป บวบงู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes anguina Linn.
วงศ์ Cecerbitaceae
ประเภท ไม้เถา
ลักษณะวิสัย บวบงูเป็นไม้เถาลำต้นเล็ก มีกิ่งก้านสาขามาก มีขนที่สั้นแต่นุ่มปกคลุม มือเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่กว้างรูปไต หรือรูป 5 เหลี่ยม กว้าง 12-18 ซม.ยาว 10-15 ซม. ดอกมีสีขาว ขอบใบมีรอยเว้ามน 3-7 รอย โคนใบเว้า มีขนทั้งสองด้าน ดอกมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย อยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็ก กลีบรองดอกมีฐานเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5กลีบ ปลายกลีบแผ่กว้างกว่าโคนกลีบ มีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวรูปขอบขนาน ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยวกลีบดอกและกลีบรองดอกเหมือนกันกับดอกเพศผู้ รังไข่รูปยาว ภายในมีเพียง 1ช่อง มีไข่อยู่จำนวนมาก ผล ทรงกระบอกยาว แหลมหัวแหลมท้ายยาวถึง 1เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. สีขาวอมเขียวอ่อนๆ มีลายสีเขียวเป็นทางยาว ผลมักบิด และคดงอ มีลักษณะคลเายงู เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม เมล็ด รูปไข่แบน กว้างประมาณ 0.8 ซม. ยาวประมาณ 1.2 ซม.
ประโยชน์
ผลอ่อน กินได้ เป็นยาบำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ระบาย ขับพยาธิ ทำให้อาเจียน ลแะแก้ท่อน้ำดีอุดตัน เมล็ด เนื้อเมล็ดกินเป็นยยาเย็น ลดไข้และแก้ร้อนใน
คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยา
คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ของบวบงู 100 กรัม ประกอบด้วย พลังงาน 16 กิโลแคลอรี น้ำ 96 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.8 กรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 24 มิลลิกรัม ผลบวบงูใช้บำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ขับพยาธิ แก้อาการท่อน้ำดีอุดตัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น