วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ก้นจ้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bidens biternata (lour.) Merr. & Sherffex Sherff

ชื่อวงศ์ : COMPODITAE

ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ก้นจ้ำ (นครราชสีมา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: สมุนไพรก้นจ้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 0.5-2เมตร.ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย

ใบ: ใบก้นจ้ำออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 ซม.ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียวริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยงก้านใบจะยาวประมาณ 1.5 ซม.

ดอก: ดอกสมุนไพรก้นจ้ำออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกมีสีเหลืองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอยกลีบดอกยาวประมาณ 5 มม.เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

ผล: ผลของก้นจ้ำมีลักษณะยาว แคบ ยาวประมาณ 9-19 มม. ปลายผลมีระยางค์อยู่ 2-5 อันยาวประมาณ 3-4 มม. ผิวนอกขนจะมีผลสั้น ๆ ออก

การขยายพันธุ์ : ก้นจ้ำเป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย

ส่วนที่ใช้ : ใบ

สรรพคุณของสมุนไพร

ใบ :ใช้ใบสดก้นจ้ำ นำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาน้ำมาใช้ ล้างตา แก้โรคตามัวหรือใช้ตำพอกแผลสด แผลน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟไหม้ เป็นต้น

ถิ่นที่อยู่ : สมุนไพรก้นจ้ำเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกา



จากเว็บ http://www.samunprix.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...