วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ผักชีฝรั่ง

ชื่อภาษาไทย ผักชีฝรั่ง

ชื่ออื่นๆ : ผักชีดอย,หอมป้อมกุลา(ภาคเหนือ), ผักชีไทย,ผักชีใบเลื่อย(ขอนแก่น,พิจิตร), ผักหอมเทศ,ผักหอมเป(ขอนแก่น,เลย), หอมน้อยฮ้อ(อุตรดิตถ์), หอมป้อม,หอมเป(ชัยภูมิ), หอมป้อมเปอะ(กำแพงเพชร)

ชื่อภาษาอังกฤษ Sawtooth corianser, Spiny coriander, long coriander, Culantro

ชื่อวิทยาศาสตร์ Eryngium foetidum L.

ชื่อพ้อง Eryngium antihystericum Rottler

วงศ์ Umbelliferae (Apiaceae)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก อายุสองฤดูกาลหรือสองปี ต้นมีกลิ่นเฉพาะตัว ไม่มีขน สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม สูงถึง 80 เซนติเมตร ปกติมีกิ่งเดียว รากหลักรูปกระสวยยาว ลำต้นสั้น เป็นร่อง ยืดยาวก่อนออกดอก ใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน เรียงเวียน มีก้านใบสั้นหรือไม่มี ใบรูปใบหอกถึงรูปไข่หรือหัวกลับยาว ขนาดกว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 5-30 เซนติเมตร ขอบใบจักฟันเลื่อย ปลายจักมีหนามแหลมเล็ก ๆ ช่อดอกแบบซี่ร่ม รูปคล้ายแบบเชิงลด ออกเป็นกระจุกบนก้านที่ยื่นยาวจากกลางยอดของกลุ่มใบ ดอกย่อยมีจำนวนมาก เรียงเป็นช่อกระจุกซ้อน ที่ปลายช่อหรือแขนง กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนานแกมรี ปลายโค้ง สีขาวแกม
นิเวศวิทยา แหล่งกำเนิดยังไม่ทราบแน่นอน แต่เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกากลางและใต้ ตั้งแต่เม็กซิโกไปยังปานามา โคลอมเบีย โบลิเวีย และบราซิล และจากคิวบาถึงตรินิแดด ได้มีการนำไปปลูกยังฟลอริดา และ เขตร้อนของเอเชีย ยุโรป แอฟริกา ออสเตเรีย จนเป็นที่แพร่หลายทั่วไปในธรรมชาติ ชาวจีนนำไปปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สรรพคุณ

ใบ ใช้ปรุงรสและดับกลิ่นคาวในอาหาร น้ำต้มหรือน้ำคั้นจากใบ ใช้เป็นยาระบาย แก้หวัด แก้ไข้ ช่วยกระตุ้นร่างกาย น้ำต้มจากราก ใช้ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ และกระตุ้นร่างกาย น้ำต้มจากทั้งต้น ใช้บำรุงกำหนัด

ข้อมูลการวิจัยของน้ำมันผักชีฝรั่ง

องค์ประกอบทางเคมี เมล็ดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.01 (สนใจรายละเอียด GC Chromatogram ติดต่อที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...