วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ผักเสี้ยน

ชื่อสามัญ : Capparidaceae

ชื่ออื่น : ผักส้มเสี้ยน ผักเสี้ยนขาว ผักเสี้ยนตัวผู้

ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุก ลำต้นและใบมีขนปกคลุมทั่วไปมียางเหนียว ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 - 5 ใบ ลักษณะรูปไข่ปลายแหลม ดอกเป็นดอกช่อสีจางหรือสีเหลืองอ่อน ผลเป็นฝักเรียวยาว เมล็ดรูปไตและเรียงอยู่ในฝัก ฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก

การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด

การปลูก

ไถแล้วตากดินไว้ 5 - 7 วัน เตรียมดินให้ละเอียด ปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองพื้นอัตรา 1,000 - 1,500 กก./ไร่ แล้วนำเมล็ดผักเสี้ยนหว่าน อัตรา 1.3 - 1.5 กิโลกรัม/ไร่ คราดดินกลบ หลังจากนั้น คลุมด้วยฟางข้าวแห้ง เพื่อรักษาความชื้น หลังจากปลูกประมาณ 5 วัน ผักเสี้ยนจะเริ่มงอก ในช่วงผักเสี้ยนยังเล็ก ให้น้ำอย่าให้แฉะ และเมื่อมีใบจริง 2 - 3 ใบ ให้กำจัดวัชพืชและถอนแยกพร้อมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักพื้นอัตรา 200 - 300 กก./ไร่ เมื่อผักเสี้ยนมีอายุ 15 และ 20 วัน รดด้วยปุ๋ยยูเรีย (46 - 0 - 0)

โรคแมลงที่สำคัญ

1. หนอนชอนใบ จะทำลายโดยการชอนไชกัดกินผิวใบ หากระบาดรุนแรง ต้นผักเสี้ยนจะแคระแกรน

การป้องกัน

หากระบาดไม่รุนแรง เด็ดใบทิ้งทำลาย
ใช้กับดักกาวเหนียววางทั่วแปลง
กรณีระบาดรุนแรงฉีดพ่นสารเคมี พวกมาลาไธออน ไดเมทโธเอท และคาร์บาริล อัตรา 20 - 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

2. เพลี้ยอ่อน จะเข้าทำลายผักเสี้ยนทุกระยะการเจริญ ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตดอกร่วง และฝักคดงดบิดเบี้ยว

การป้องกัน

ใช้ผงสะเดาแช่น้ำอัตรา 700กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5 วัน
ฉีดพ่นสารเคมีพวก คาร์โบซัลแฟน คาร์บาริล หรือ เมทามิโดพอส อัตรา 20 - 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

3. ด้วงหมัดผัก จะเข้าทำลายระบบราก กัดกินผิวใบ จนเป็นรูพรุน

การป้องกัน

ไถตากดินก่อนปลูกผักเสี้ยน 5 - 7 วัน
หว่านผงสะเดา อัตรา 120 กก./ไร่
ฉีดพ่นสารเคมีพวก ไดเมทโธเอท หรืคาร์บาริล อัตรา 20 - 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

4. โรคโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการจะเป็นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก ต่อมาแผลจะแห้งและยุบตัว ในที่สุดต้นจะเหี่ยวเฉาตาย หากระบาดรุนแรง ต้นจะหักล้มเป็นหย่อม และใบคล้ายถูกน้ำร้อนลวก

การป้องกัน

ถอนต้นนำไปทำลาย
อย่าให้แปลงผักเสี้ยนแฉะ น้ำขัง
หากระบาดรุนแรง ใช้สารเคมีพวก แมนโคเซป หรือ เมตาแรคซิน อัตรา 20 - 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น

การเก็บเกี่ยว

เก็บเกี่ยวผักเสี้ยนเมื่ออายุ 25 - 30 วัน สังเกตจากดอกชุดแรกกำลังตูม เก็บเกี่ยวโดยการถอนทั้งต้น ตัดรากออก ล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปดอง

ส่วนที่ใช้บริโภค

ต้นและใบ นำมาทำเป็นผักเสี้ยนดอง(ไม่นิยมบริโภคสด)

ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน

ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 10,170 บาท/ไร่
ผลผลิตรวม 3,500 กิโลกรัม/ไร่
ราคาที่เกษตรขายได้ 11.16 บาท/กิโลกรัม
รายได้รวม 39,060 บาท/ไร่/รุ่น
รายได้สุทธิ 28,890 บาท/ไร่/รุ่น

วิธีดองผักเสี้ยน
การดองผักเสี้ยนทำได้โดย นำผักเสี้ยนมาเด็ด หรือหั่นเป็นท่อน ขนาดพอเหมาะ นำไปตากแดดพอหมาดๆ เพื่อขจัดกลิ่นเหม็นเขียวทิ้งไป จากนั้นจึงเอาข้าวสุกเย็น 1 กำมือ ต่อผักเสี้ยน 5 ถ้วยแกง ขยำกับเกลือให้มีรสเค็มเล็กน้อย 5 ถ้วยแกง แล้วนำผักเสี้ยนที่เตรียมไว้ใส่ลงไป ใส่น้ำตาลโตนด 5 ช้อนแกง คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ปิดฝาภาชนะ ตั้งทิ้งไว้ในร่ม 3-4 คืน ผักเสี้ยนจะมีรสเปรี้ยว นำมารับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกงกระดูกหมู หรือแกงส้มกับกุ้ง หรือปลาก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...