วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หว้า

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae

ส่วน Magnoliophyta

ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Myrtales

วงศ์ Myrtaceae

สกุล Syzygium

สปีชีส์ S. cumini

ชื่อวิทยาศาสตร์
Syzygium cumini (L.) Skeels


หว้า ชื่ออื่นๆ หว้า, ห้าขี้แพะ เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิด จากอินเดียจนถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะ ลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ

ดอก ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม - มิถุนายนผล เป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ สีม่วงดำ ผิวมัน มีขนาด 1 ซม. ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่

การขยายพันธ์ ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม สภาพดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ ขึ้นได้ทั่วไป ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเล จนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร

ประโยชน์
เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย

เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม

ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด

เมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...