วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เร่ว

เร่ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum xanthioides Wall.

วงศ์ : Zingiberaceae

ชื่อสามัญ : Bustard cardamom, Tavoy cardamom

ชื่ออื่น : หมากแหน่ง (สระบุรี) หมากเนิง (อีสาน) มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่) หน่อเนง (ชัยภูมิ)

ลักษณะ : เร่วเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชสกุลเดียวกับ กระวาน ข่า ขิง ใบมีลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบมีขนาดสั้น ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น ผลมีขนสีแดงปกคลุม เมล็ดมีสีน้ำตาล เร่วมีหลายชนิด เช่น เร่วหอม เร่วช้าง เร่วกอ ซึ่งเร่วเหล่านี้มีลักษณะต้นแตกต่างกันไป
ประโยชน์ทางสมุนไพร : น้ำมันหอมระเหยในเมล็ดเร่วมีฤทธิ์เป็นยาขับลม ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด โดยใช้เมล็ดประมาณ 3 กรัม บดให้เป็นผงรับประทานวันละ 3 ครั้ง และช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นเหียนอาเจียนได้ดีอีกด้วย

ส่วนที่ใช้ : เมล็ดจากผลที่แก่จัด ราก ต้น ใบ ดอก ผล

สรรพคุณ

เมล็ดจากผลที่แก่จัด
- เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
- แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร

ราก - แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้เซื่องซึม

ต้น - แก้คลื่นเหียน อาเจียน

ใบ - ขับลม แก้ปัสสาวะพิการ

ดอก - แก้พิษอันเกิดเป็นเม็ดผื่นคันตามร่างกาย

ผล- รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง

วิธีและปริมาณที่ใช้

แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมแน่นจุกเสียด
โดยนำเมล็ดในของผลแก่มาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 กรัม (ประมาณ 3-9 ผล) วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ใช้เป็นเครื่องเทศ โดยใช้เมล็ด

การปลูก
ใช้หน่อปลูก ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุย เจริญได้ดีในที่รำไร ปลูกได้ทุกฤดูกาล วิธีการปลูกให้แยกหน่อออกจากต้นเดิมก่อน แล้วชำเอาไว้ในที่ชุ่มชื้น เมื่อต้นแข็งแรงแล้ว
ให้แยกไป ปลูกที่ที่เฉพาะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...