ชื่ออื่น ๆ : สีเสียดแก่น (ราชบุรี), สีเสียด (เหนือ), สะเจ (เงี้ยง-แม่ฮ่องสอน),สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่), สีเสียดหลวง
ชื่อสามัญ : Cutch Tree, Catechu Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia catechu (Linn.f.) Willd.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ผลัดใบ มีทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ลำต้นจะสูงราว ๆ 15 เมตร กิ่ง และลำต้นจะมีหนามแหลมติดอยู่ ผิวเปลือกค่อนข้างขรุขระ มีสีเทาเข้ม และลอกเปลือกผิวออกมาได้เป็นแผ่น ๆ เปลือกข้างในเป็นสีแดง
ใบ : เป็นไม้ใบรวม ออกเป็นช่อเรียงกันแบบขนนก ใบย่อยออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกันมีอยู่ 20-50 คู่ ลักษณะของใบย่อยเล็กและฝอย ส่วนปลายใบมน โคนใบเบี้ยวมีขนขึ้นประปราย
ดอก : ออกเป็นช่อยาว คล้ายกับหางกระรอก ช่อดอกยาวประมาณ 2-4 นิ้วดอกมีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือสีขาวอมเหลือง กลีบดอกยาวประมาณ 2-3 มม.
ผล : เป็นฝัก แบน ส่วนโคนและปลายผักเรียวแหลมตัวฝักตรงซึ่งเมื่อแก่เต็มที่เป็นสีน้ำตาล แล้วฝักก็จะแตกอ้าออกมองเห็นเมล็ดภายใน 3-7 เม็ดสีน้ำตาล
การขยาย พันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ทนต่อแสงแดด และความแห้งแล้งได้ดี เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ ต้องการน้ำและความชื้นปานกลางขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เมล็ด เปลือกต้น
สรรพคุณ : เมล็ด คือส่วนที่อยู่ในฝัก นำออกมาฝนเป็นยาทาแก้โรคหิดเปลือกต้น แก้ท้องร่วง แก้บิด สมานแผล แก้ท้องเดิน ต้มกับน้ำใช้ล้างแผลแก้แผลเปื่อยเรื้อรัง ล้างแผลหัวนมแตก และยังใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น เพื่อปรุงเป็นยาแก้บิด ธาตุพิการ ใช้สมานแผลแก้ท้องร่วง
อื่น ๆ : แก่นที่สกัดด้วยน้ำแล้วระเหยจนแห้ง ที่เรียกว่า ก้อนสีเสียด นำมาบดเป็นผงประมาณ 1/3-1/2 ช้อนชาต้มเอาน้ำดื่มแก้ท้องเดิน
สารเคมีที่พบ : เปลือกต้นมีสารพวก catechol, Gallic acid, Tannin ทั้งต้นมี Epicatechin
จากเว็บ http://seo.spiceday.com/
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น