วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

หมากแดง

ชื่อ หมากแดง

ชื่อท้องถิ่น กะแด็ง (มลายู - นราธิวาส)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyrtostachys lakka Becc.

ชื่อวงศ์ PALMAE

ลักษณะหรือลักษณะพิเศษ

หมากแดง เป็นพืชพวกปาล์ม ขึ้นทั่วไปในป่าพรุ ลำต้นแตกหน่อเป็นก่อใหญ่ สูง 5-10 เมตร ยอดเป็นลำแหลม หุ้มด้วยกาบใบสีแดง ใบ ประกอบรูปขนนก ยาว 150-300 เซนติเมตร กว้าง 50 - 100 เซนติเมตร ก้านช่อใบสีแดง มีใบย่อยมาก ใบย่อยรูปเรียวแคบ ปลายแหลมเรียงเป็นระเบียบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีนวลแป้ง ดอกแก่สีแดงคล้ำถึงดำ รูปกลมรี ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร มีผลเหมือนกับหมากโดยทั่วไป


แหล่งที่พบ

หมากแดงสามารถพบได้โดยทั่วไปในแถบป่าพรุของภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาสนิยมปลูกกันมาก

ความสัมพันธ์กับชุมชน

ประชาชนโดยทั่วไปนิยมนำใบหมากแดงมาใช้ในการรักษาโรคเป็นยาสมุนไพร โดยนำใบมาใช้ในการรักษาแก้ไข้พิษ แก้ร้อนใน และมีสรรพคุณในการล้อมต้นดับพิษอีกด้วย และชาวบ้านนิยมนำต้นหมากแดงมาใช้ในการปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงามและมีราคาในปัจจุบัน

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ

หมากแดง จะมีคุณค่าในทางของการทำเครื่องยาสมุนไพร ในการใช้รักษาโรคทั่วไป และต้นของหมากแดงเป็นที่นิยมของตลาดนัก ปลูกต้นไม้หรือสะสมต้นไม้ที่จะปลูกไว้เป็นประดับ และมีราคาสูงด้วยในปัจจุบัน



กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...