วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

กูดขาว

วงศ์ Athyriaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Diplazium esculentum (Retz.) Sw.

ชื่อพื้นเมือง กูดกิน กูดคึ (เหนือ) กูดน้ำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ไก้กวิลุ ปู่
แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักกูด (ชื่อเรียกทั่วไป) ผักกูดขาว (ชลบุรี) หัสดำ (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น ตั้งตรง สูงมากกว่า 1 เมตร เกล็ดรูปหอก สีน้ำตาลเข้มถึงดำ กว้าง 10 มิลลิเมตร ยาว 1.2 มิลลิเมตร ขอบเกล็ดหยักเป็นซี่ฟัน ก้านใบยาว 70 เซนติเมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบยาว 40 เซนติเมตร กว้าง 25 เซนติเมตร ใบย่อยรูปหอก เรียงสลับ ใบย่อยบริเวณโคนใบ 2-3 ใบ มักลดรูป ใบย่อยบริเวณกลางประกอบแบบขนนกหนึ่งชั้น รูปหอกหรือขอบขนาน ปลายเรียวแหลม ใบย่อยบริเวณปลายใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม ใบย่อยชั้นที่สองรูปหอกแกมขอบขนาน เรียงสลับ ยาว 13 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร โคนตัดหรือรูปหัวใจ ปลายเรียวแหลม ขอบใบย่อยชั้นที่สองหยักฟันเลื่อยถึงหยักลึกเป็นแฉกมน ขอบแฉกหยักซี่ฟัน ปลายแฉกมนถึงตัด เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ สีเขียวเข้ม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นใบร่างแห มีเส้นใบย่อยราว 10 คู่ กลุ่มอับสปอร์ จัดเรียงเป็นแถวตามความยาวของเส้นใบ มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์รูปจันทร์เสี้ยว 2 ข้างของอับสปอร์ เมื่อสปอร์แก่จะเปิดออก 2 ข้าง ทิศตรงข้ามกัน (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ ใบอ่อนนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด หรือผักลวกจิ้มน้ำพริก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...