วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

กระฉอดแรด

วงศ์ Dryopteridaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectaria griffithii (Baker) C.Chr.
ชื่อพื้นเมือง กะฉอดแรด (ตะวันออกเฉียงใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นสั้น ตั้งตรง เกล็ดรูปหอก ยาวประมาณ 20 มิลลิเมตร กว้าง 3 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้มถึงดำ โคนตัด ขอบเรียบ ปลายแหลมยาว ก้านใบยาว 70 เซนติเมตร สีน้ำตาลแดง มีร่องด้านบน เกล็ดและขนหนาแน่นตลอดทั้งก้าน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นที่โคน รูปห้าเหลี่ยม ยาว 70 เซนติเมตร กว้าง 40 เซนติเมตร ใบย่อยชั้นแรกเรียงกึ่งตรงข้าม 1-4 คู่ ใบย่อยชั้นแรกคู่แรกรูปสามเหลี่ยมไม่สมมาตร ก้านยาว 1.5-2 เซนติเมตร ใบย่อยยาว 30 เซนติเมตร กว้าง 25 เซนติเมตร ขอบหยักเป็นแฉก แฉกหรือใบย่อยชั้นที่สองด้านล่างยาวกว่าด้านปลาย ใบย่อยชั้นที่สองแรกด้านล่างมีขนาดใหญ่และยาวอย่างเด่นชัด ยาว 20 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม แฉกเฉียง ปลายตัด ใบย่อยชั้นแรกบริเวณกึ่งกลางใบมีขนาดเล็กกว่าคู่แรกเล็กน้อย รูปหอกแกมขอบขนาน ก้านสั้นหรือไร้ก้านหรือโคนเชื่อมกับแกนกลางแผ่เป็นครีบ ปลายเรียวแหลม ขอบหยักเป็นแฉกรูปเคียว ปลายแหลมถึงมน ใบย่อยชั้นแรกที่ปลายแกนกลางรูปไข่แกมสามเหลี่ยม โคนเชื่อมกับแกนกลางแผ่เป็นปีก ปลายเรียวแหลม ขอบหยักเป็นแฉกลึกเกือบถึงแกนกลาง รูปขอบขนานถึงรูปเคียว ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน แกนกลาง เส้นกลางใบ และเส้นกลางใบย่อยด้านล่างมีเกล็ดประปราย เส้นใบร่างแห มีเส้นใบย่อยอยู่ภายใน กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ปลายเส้นใบย่อยในช่องร่างแห เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เกลี้ยง (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับอาคาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...