วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

ก้นบึ้งเล็ก

ก้นบึ้งเล็ก

วงศ์ PAPILIONOIDEAE
Campylotropis parviflora (Kurz) Schindl. ex Gagnep.

ชื่อสามัญ ก้นบึ้งเล็ก หิ่งเม่น (เชียงใหม่) เลือดใน (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาตร์และเกษตร เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 1.0 – 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 9.5 – 12.5 มิลลิเมตร ลำต้นมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อย 3 ใบ รูปรี (elliptic) หรือรูปขอบขนาน (oblong) ใบบนสุดกว้าง 1.1 – 3.2 เซนติเมตร ยาว 3.2 - 5.0 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 1.2 - 2.9 เซนติเมตร ยาว 2.6 – 4.4 เซนติเมตร หน้าใบมีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนน้อยมาก ช่อดอกยาว 10.5 – 12.8 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายยอด กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักแบน ค่อนข้างกลม มี 1 เมล็ด ออกดอกมากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม และต้นฤดูฝนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบในสภาพพื้นที่เป็นเขา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (PC 189) ซึ่งมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 893 เมตร

การใช้ประโยชน์ ยาพื้นบ้าน ใช้รากต้มน้ำดื่ม ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ (วงศ์สถิต และคณะ, 2543)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...