วงศ์ PAPILIONOIDEAE
Campylotropis parviflora (Kurz) Schindl. ex Gagnep.
ชื่อสามัญ ก้นบึ้งเล็ก หิ่งเม่น (เชียงใหม่) เลือดใน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาตร์และเกษตร เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 1.0 – 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 9.5 – 12.5 มิลลิเมตร ลำต้นมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อย 3 ใบ รูปรี (elliptic) หรือรูปขอบขนาน (oblong) ใบบนสุดกว้าง 1.1 – 3.2 เซนติเมตร ยาว 3.2 - 5.0 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 1.2 - 2.9 เซนติเมตร ยาว 2.6 – 4.4 เซนติเมตร หน้าใบมีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนน้อยมาก ช่อดอกยาว 10.5 – 12.8 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายยอด กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักแบน ค่อนข้างกลม มี 1 เมล็ด ออกดอกมากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม และต้นฤดูฝนพฤษภาคมถึงมิถุนายน
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบในสภาพพื้นที่เป็นเขา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (PC 189) ซึ่งมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 893 เมตร
การใช้ประโยชน์ ยาพื้นบ้าน ใช้รากต้มน้ำดื่ม ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ (วงศ์สถิต และคณะ, 2543)
Campylotropis parviflora (Kurz) Schindl. ex Gagnep.
ชื่อสามัญ ก้นบึ้งเล็ก หิ่งเม่น (เชียงใหม่) เลือดใน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาตร์และเกษตร เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 1.0 – 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 9.5 – 12.5 มิลลิเมตร ลำต้นมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อย 3 ใบ รูปรี (elliptic) หรือรูปขอบขนาน (oblong) ใบบนสุดกว้าง 1.1 – 3.2 เซนติเมตร ยาว 3.2 - 5.0 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 1.2 - 2.9 เซนติเมตร ยาว 2.6 – 4.4 เซนติเมตร หน้าใบมีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนน้อยมาก ช่อดอกยาว 10.5 – 12.8 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายยอด กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักแบน ค่อนข้างกลม มี 1 เมล็ด ออกดอกมากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม และต้นฤดูฝนพฤษภาคมถึงมิถุนายน
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบในสภาพพื้นที่เป็นเขา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (PC 189) ซึ่งมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 893 เมตร
การใช้ประโยชน์ ยาพื้นบ้าน ใช้รากต้มน้ำดื่ม ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ (วงศ์สถิต และคณะ, 2543)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น