ชื่อวิทยาศาสตร์ Bambusa Sp.
ชื่อวงศ์ Gramineae
ชื่อพื้นเมือง ไผ่หวาน ไผ่บงหวาน
ลักษณะทั่วไป เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะกอเป็นหุ้มแน่น ลำอ่อนมีสีเขียวใบไม้ ลำแก่จะมีสีเขียวแก่ ลำต้นมักมักมีลักษณะคดงอ มีการแตกกิ่งจำนวน 2-5 กิ่งตลอดลำ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 ซม. สูงประมาณ 5-8 เมตร บริเวณเหนือข้อเล็กน้อยจะเห็นเป็นแถบวงแหวนสีขาวรอบลำชัดเจน และมีรากอากาศอยู่รอบ ๆ ข้อ ลักษณะที่สังเกตง่ายที่สุด คือ ครีบกาบทั้งสองข้างของกาบหุ้มลำจะมีขนาดไม่เท่ากัน และมีรูปทรงต่างกัน ซึ่งปกติครีบกาบของไผ่ชนิดอื่นจะมีขนาดเท่ากันหรือเหมือนกัน
ใบ ใบขนาดกลาง
ผล หน่อมีสีเขียว หนักประมาณ 200-300 กรัม
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ ขึ้นในป่าผสมผลัดใบ (เบญจพรรณ) ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากที่จังหวัดเลย
การขยายพันธุ์และการปลูก การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า โดยการแยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก
ดิน ควรปลูกในดินร่วนปนทราย ดินลึกมีการระบายน้ำดี
ความชื้น ต้องการความชุ่มชื้นมาก
การปลูกดูแลบำรุงรักษา
การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอ ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ก็สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปีเช่นกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย หลุมที่ปลูกไผ่ตงควรมีขนาด กว้างxยาวxลึก ไม่น้อยกว่า 50x50x50 เซนติเมตร ให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสำหรับดินยุบตัวภายหลัง
วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม
ระยะเวลาที่เหมาะต่อการปลูกไผ่อยู่ในช่วงฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน เนื่องจากช่วงระยะที่เริ่มปลูกไผ่ต้องการน้ำมาก การปลูกในช่วง ฤดูฝนจึงลดค่าใช้จ่ายในการรดน้ำลงได้มาก และเป็นระยะที่ไผ่มีการเจริญเติบโตดีที่สุดด้วย สำหรับ ระยะปลูกและจำนวนกล้าไผ่ต่อพื้นที่ ควรมีระยะปลูกประมาณ 8 x 8 เมตร หรือประมาณ 25 กอต่อไร่ หลุมที่ปลูกมีขนาดประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร
โรคและแมลง มีโรคแมลงและศัตรูธรรมชาติ เหมือนกับโรคแมลงและศัตรูธรรมชาติของไผ่เลี้ยง
อัตราการเจริญเติบโต มีอัตราการเจริญเติบโต เหมือนกับอัตราการเจริญเติบโตของไผ่เฮียะ
ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะ
การที่ไม้ไผ่มีอายุขัยในการออกดอกและผลิตเมล็ดยาวนาน ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ มีอายุขัยในการออกดอกแตกต่างกัน บางชนิดใช้เวลานาน 30-50 ปี ในขณะที่บางชนิดใช้เวลานานกว่า ร้อยปี อายุขัยในการออกดอกที่ยาวนานและไม่สม่ำเสมอเช่นนี้ เป็นอุปสรรคในการเก็บหาและรวบรวม ตัวอย่างที่จำเป็นในการจำแนกพันธุ์อย่างยิ่ง และข้อเสนอแนะ การทำสวนไผ่นั้นใช้เวลานานถึง 3 ปี จึงจะตัดหน่อได้ ช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ตัดหน่อ พื้น ที่ว่างอาจปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น ฟัก แฟง มันเทศ พริก มะเขือ หรือพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ และ ยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินอีกด้วย หลังจากไผ่ให้หน่อแล้วภายในสวนอาจร่มครึ้มมากขึ้น จึง เหมาะสำหรับปลูกไม้ประเภทต้นเตี้ยที่ขึ้นได้ดีในที่ร่ม เช่น กระชาย หรืออาจปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่น สมุนไพรจำพวกเร่วและกระวานลงในสวนได้ หรือปลูกควบกับไม้ผลอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น กระท้อน ขนุน ส้มโอ เป็นต้น
จาก http://www.dnp.go.th/EPAC/bamboo_rattan/bamboo27.htm
blogger social network ฟังเพลงสากล Billy1
โรคและแมลง มีโรคแมลงและศัตรูธรรมชาติ เหมือนกับโรคแมลงและศัตรูธรรมชาติของไผ่เลี้ยง
อัตราการเจริญเติบโต มีอัตราการเจริญเติบโต เหมือนกับอัตราการเจริญเติบโตของไผ่เฮียะ
ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะ
การที่ไม้ไผ่มีอายุขัยในการออกดอกและผลิตเมล็ดยาวนาน ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ มีอายุขัยในการออกดอกแตกต่างกัน บางชนิดใช้เวลานาน 30-50 ปี ในขณะที่บางชนิดใช้เวลานานกว่า ร้อยปี อายุขัยในการออกดอกที่ยาวนานและไม่สม่ำเสมอเช่นนี้ เป็นอุปสรรคในการเก็บหาและรวบรวม ตัวอย่างที่จำเป็นในการจำแนกพันธุ์อย่างยิ่ง และข้อเสนอแนะ การทำสวนไผ่นั้นใช้เวลานานถึง 3 ปี จึงจะตัดหน่อได้ ช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ตัดหน่อ พื้น ที่ว่างอาจปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น ฟัก แฟง มันเทศ พริก มะเขือ หรือพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ และ ยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินอีกด้วย หลังจากไผ่ให้หน่อแล้วภายในสวนอาจร่มครึ้มมากขึ้น จึง เหมาะสำหรับปลูกไม้ประเภทต้นเตี้ยที่ขึ้นได้ดีในที่ร่ม เช่น กระชาย หรืออาจปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่น สมุนไพรจำพวกเร่วและกระวานลงในสวนได้ หรือปลูกควบกับไม้ผลอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น กระท้อน ขนุน ส้มโอ เป็นต้น
จาก http://www.dnp.go.th/EPAC/bamboo_rattan/bamboo27.htm
blogger social network ฟังเพลงสากล Billy1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น