หากเอ่ยถึง อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ต้องขอบอกไว้เลยว่า ไกลปืนเที่ยงจริงๆ เพราะเท่าที่สังเกตดู เกือบจะทุกพื้นที่ยังมีปัญหาในเรื่องของไฟฟ้า น้ำประปา ที่ยังไปไม่ถึง ระยะทางเดินรถไม่สะดวก เป็นหลุมเป็นบ่อขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง เนื่องจากที่ผ่านมามีฝนตกหนักน้ำท่วมบ่อยๆ กว่าจะถึงที่หมายแต่ละแห่งก็ต้องผ่านป่าเขา เข้าไปลึกพอสมควร อย่างบ้านของเกษตรกรท่านหนึ่งที่ชื่อว่า คุณพินิจ จิตรพิโรจน์ อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 59 หมู่ 10 ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี โทร. (01) 741-9107 (01) 250-3105
คุณพินิจ ออกมาต้อนรับคณะผู้มาเยือนด้วยอาการที่ยิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมกับสมาชิกในครอบครัว แนะนำตัวกันเสร็จเรียบร้อย พร้อมกับแจ้งความประสงค์ที่จะเข้ามาเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกไผ่หม่าจูของคุณพินิจ คุณพินิจจึงเริ่มเล่าที่มาที่ไปว่า ทำไม ถึงได้มาปลูกไผ่หม่าจู ที่บริเวณด้านหลังบ้านแทนการปลูกไผ่ศรีปราจีนเหมือนอย่างเกษตรกรท่านอื่น
คุณพินิจ เล่าว่า ตนมีที่ทั้งหมด 50 ไร่ แต่เดิมเคยปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง ขนุน และไผ่ศรีปราจีน ฯลฯ มาก่อน แต่ประสบปัญหาการตลาดและไผ่ศรีปราจีนก็ออกดอกตายหมด เช่นเดียวกับเกษตรกรรายอื่นๆ ในจังหวัดปราจีนบุรี เมื่อปี 2528 ตนจึงต้องตัดไผ่ศรีปราจีนทิ้งทั้งหมด และได้คิดหาพืชผักและไม้ผลชนิดอื่นๆ มาปลูกทดแทน
ประมาณ ปี 2544 ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้เข้ามามอบไผ่พันธุ์ใหม่ให้กับคุณพินิจ ไผ่พันธุ์ใหม่ที่ว่านี้เขาเรียกกันว่า "ไผ่หม่าจู" ที่มาของแหล่งพันธุ์ไผ่ชนิดนี้มาจากประเทศไต้หวัน
ช่วงแรก คุณพินิจได้รับกิ่งพันธุ์ไผ่หม่าจูจากกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 33 ต้น นำมาปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอีก 7 ไร่ โดยใช้วิธีการทาบกิ่งไผ่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวน 500 ต้น ขั้นตอนการปลูกไผ่หม่าจูก็ไม่แตกต่างกับไผ่พันธุ์อื่นๆ โดยปลูกในระยะประมาณ 2x2 เมตร หลุมลึก 20 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยแกลบและปุ๋ยขี้ไก่
ปีแรก เป็นการปลูกไผ่เพื่อเลี้ยงลำไผ่เอาไว้เพื่อขยายพันธุ์เพิ่ม ซึ่งการปลูกระยะแรกๆ จะให้น้ำเกือบทุกวัน ถ้าวันไหนดินมีความชื้นอยู่แล้วจะไม่ต้องให้น้ำอีก พอไผ่ตั้งตัวได้แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นให้น้ำ 3 วัน ต่อครั้ง ผ่านไปประมาณสัก 7 เดือน ก็จะเริ่มเห็นหน่อไผ่แทงออกมาจากดิน ช่วงนี้แหละที่จะต้องเลี้ยงลำเอาไว้ก่อน อย่างไผ่หม่าจู 1 กอ จะให้หน่อได้มากกว่าไผ่ชนิดอื่นๆ ถึง 30-40 หน่อ
การเลี้ยงลำไผ่
จะเลี้ยงลำอย่างนี้ไปประมาณ 1 ปี ขึ้นไป พอเข้าปีที่สองจึงเริ่มขยายพันธุ์ไผ่โดยการตอนกิ่ง การตอนกิ่งหรือทาบกิ่งเวลาที่เลือกกิ่งตอนจะเลือกกิ่งไผ่ที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป จากนั้นจะนำขุยมะพร้าวผสมกับน้ำยาเร่งรากมาห่อหุ้มกิ่งไผ่เอาไว้ ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะเห็นว่ามีรากงอกออกมา และรออีกสัก 25 วัน ถึงค่อยตัด โดยใช้เลื่อยตัดออกมาใส่ถุงดำขนาดเล็กที่เตรียมเอาไว้ ประมาณอีก 3 สัปดาห์ รากไผ่จะเดินเต็มถุง จึงสามารถจำหน่ายกิ่งพันธุ์ได้ ไผ่หม่าจูที่ได้จะมีขนาดความสูง 1.5 เมตร ขายราคา 150 บาท
คุณพินิจยังบอกอีกว่า ไผ่หม่าจูแตกต่างจากไผ่พันธุ์อื่นๆ คือให้ผลผลิตเร็ว เนื้อละเอียดไม่มีเสี้ยน รสชาติหวานกรอบ มีรสขื่นน้อย และเมื่อเข้าฤดูฝนประมาณเดือนเมษายน-พฤศจิกายน ต้นไผ่หม่าจูก็จะเริ่มให้หน่อเรื่อยๆ พอช่วงฤดูหนาวก็จะมีการพักต้น ประมาณ 3 เดือน
การผลิตไผ่หม่าจูนอกฤดูจะเริ่มประมาณเดือนมกราคม-เมษายน ช่วงนี้จึงควรให้น้ำเพิ่ม 3 วัน ต่อครั้ง และตัดแต่งกิ่งเก่าออก พร้อมกับเติมปุ๋ยคอกบริเวณโคนต้นไผ่ (ปุ๋ยขี้ไก่) ใส่ปีละ 3 ครั้ง ใส่ปุ๋ยน้ำหมัก ปุ๋ยพืชสด รออีกประมาณ 1 เดือน ขึ้นไป ต้นไผ่ก็จะเริ่มให้หน่อ แต่หน่อของไผ่หม่าจูจะออกน้อยกว่าช่วงเวลาปกติ
คุณพินิจ บอกว่า ไผ่หม่าจู จะสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง เช่น กาบใบของใบไผ่ที่ห่อหุ้มอยู่ที่ลำไผ่มีขนาดใหญ่กว่าไผ่ปกติประมาณเกือบ 2 เท่า ของใบไผ่ธรรมดา สามารถที่จะขายส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเป็นกล่องโฟม เพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ส่วนใบของมันยังนำไปห่อทำเป็นบ๊ะจ่าง ขนมสามเหลี่ยมที่ใส่ในน้ำหวาน และถ้าเป็นหน่อไผ่สดจะขายได้กิโลกรัมละ 20-80 บาท ชนิดที่เขาอบแห้งขายกิโลกรัมละ 200 บาท
ด้านการตลาด ไผ่หม่าจู มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดีมาก โดยเฉพาะตลาดกิ่งพันธุ์ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก แต่ยังผลิตขายได้น้อย หากผู้อ่านท่านใดสนใจอยากทราบเกี่ยวกับไผ่หม่าจู ก็สามารถติดต่อขอข้อมูลจากคุณพินิจได้ตามที่อยู่ข้างต้น รับประกันความผิดหวัง
วิธีปลูก เพื่อเก็บหน่อขายเป็นอาชีพเริ่มจากขุดหลุมลึกและกว้าง 1 คูณ 1 เมตร ปลูกห่างกัน 4 คูณ 4 เมตร หลังจากนำต้นลงปลูกระยะแรกให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเช้าเย็น พร้อมบำรุงปุ๋ยจำพวกขี้วัวหรือขี้ควายแห้งสลับกับปุ๋ยคอกกลบฝังดินรอบโคนต้น เดือนละครั้ง พอต้นเริ่มแตกกิ่งใหม่ให้เห็นแสดงว่าต้นเคยดินและลากแข็งแรงเดินหาอาหารได้ แล้ว คอยพรวนดินรอบโคนต้นประจำ พร้อมเก็บวัชพืชอื่นๆที่ขึ้นอยู่ทิ้งให้หมด ประมาณ 6-7 เดือน หลังปลูก "ไผ่หวานหม่าจู" จะเริ่มแทงหน่อขึ้นเหนือดินให้เห็น ให้สังเกตว่าหน่อมีขนาดใหญ่สูงประมาณ 1 ฟุตเศษ สามารถเก็บเกี่ยวหน่อได้และบำรุงปุ๋ยให้ต้นทันที ถ้าลำไผ่ต้นไหนอายุนาน 1.5 ปี ให้ตัดโคนเอาลำไผ่ ไปใช้ประโยชน์หรือขายได้ เพื่อจะสร้างหน่อหรือต้นใหม่ขึ้นมาแทน และพยายามให้ต้นไผ่แตกกออยู่ในวงพอดี ไม่ควรให้กระจายกว้างเกินไป ปฏิบัติเช่นนี้เป็นวัฏจักรจะทำให้ "ไผ่หวานหม่าจู" มีหน่อให้เก็บกินและเก็บขายได้เกือบทั้งปี
ประโยชน์อื่นๆ ชาวจีนใช้ ใบของ "ไผ่หวานหม่าจู" หมักเป็นเหล้าธรรมชาติเรียกว่า "เหล้าจู๋-เย้ชิง" ใบกับรากต้มรวมกันดื่มเป็นน้ำชารักษาโรคมดลูกอักเสบ ขจัดระดูขาวและประจำเดือนไม่ปกติในสตรี ขับปัสสาวะ รักษาไตได้ อีกด้วย
ไผ่ หวานหม่าจู หรือ DEND-ROCA LAMUS LATIFLERUS มีชื่อสามัญว่า TAIWAN GIANT BAMBOO ปัจจุบันมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง "คุณหลงคุณก็อต" ตรงกันข้ามโครงการ 15 ราคาสอบถามกันเอง ถิ่นกำเนิดประเทศไต้หวันและประเทศจีน เนื้อของหน่อมีรสชาติอร่อย ไม่ขม สามารถปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง
ที่มา :http://www.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=0503011147&srcday=2004/11/01&search=no และไทยรัฐ
ภาพ ไทยรัฐ
คุณพินิจ ออกมาต้อนรับคณะผู้มาเยือนด้วยอาการที่ยิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมกับสมาชิกในครอบครัว แนะนำตัวกันเสร็จเรียบร้อย พร้อมกับแจ้งความประสงค์ที่จะเข้ามาเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกไผ่หม่าจูของคุณพินิจ คุณพินิจจึงเริ่มเล่าที่มาที่ไปว่า ทำไม ถึงได้มาปลูกไผ่หม่าจู ที่บริเวณด้านหลังบ้านแทนการปลูกไผ่ศรีปราจีนเหมือนอย่างเกษตรกรท่านอื่น
คุณพินิจ เล่าว่า ตนมีที่ทั้งหมด 50 ไร่ แต่เดิมเคยปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง ขนุน และไผ่ศรีปราจีน ฯลฯ มาก่อน แต่ประสบปัญหาการตลาดและไผ่ศรีปราจีนก็ออกดอกตายหมด เช่นเดียวกับเกษตรกรรายอื่นๆ ในจังหวัดปราจีนบุรี เมื่อปี 2528 ตนจึงต้องตัดไผ่ศรีปราจีนทิ้งทั้งหมด และได้คิดหาพืชผักและไม้ผลชนิดอื่นๆ มาปลูกทดแทน
ประมาณ ปี 2544 ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้เข้ามามอบไผ่พันธุ์ใหม่ให้กับคุณพินิจ ไผ่พันธุ์ใหม่ที่ว่านี้เขาเรียกกันว่า "ไผ่หม่าจู" ที่มาของแหล่งพันธุ์ไผ่ชนิดนี้มาจากประเทศไต้หวัน
ช่วงแรก คุณพินิจได้รับกิ่งพันธุ์ไผ่หม่าจูจากกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 33 ต้น นำมาปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอีก 7 ไร่ โดยใช้วิธีการทาบกิ่งไผ่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวน 500 ต้น ขั้นตอนการปลูกไผ่หม่าจูก็ไม่แตกต่างกับไผ่พันธุ์อื่นๆ โดยปลูกในระยะประมาณ 2x2 เมตร หลุมลึก 20 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยแกลบและปุ๋ยขี้ไก่
ปีแรก เป็นการปลูกไผ่เพื่อเลี้ยงลำไผ่เอาไว้เพื่อขยายพันธุ์เพิ่ม ซึ่งการปลูกระยะแรกๆ จะให้น้ำเกือบทุกวัน ถ้าวันไหนดินมีความชื้นอยู่แล้วจะไม่ต้องให้น้ำอีก พอไผ่ตั้งตัวได้แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นให้น้ำ 3 วัน ต่อครั้ง ผ่านไปประมาณสัก 7 เดือน ก็จะเริ่มเห็นหน่อไผ่แทงออกมาจากดิน ช่วงนี้แหละที่จะต้องเลี้ยงลำเอาไว้ก่อน อย่างไผ่หม่าจู 1 กอ จะให้หน่อได้มากกว่าไผ่ชนิดอื่นๆ ถึง 30-40 หน่อ
การเลี้ยงลำไผ่
จะเลี้ยงลำอย่างนี้ไปประมาณ 1 ปี ขึ้นไป พอเข้าปีที่สองจึงเริ่มขยายพันธุ์ไผ่โดยการตอนกิ่ง การตอนกิ่งหรือทาบกิ่งเวลาที่เลือกกิ่งตอนจะเลือกกิ่งไผ่ที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป จากนั้นจะนำขุยมะพร้าวผสมกับน้ำยาเร่งรากมาห่อหุ้มกิ่งไผ่เอาไว้ ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะเห็นว่ามีรากงอกออกมา และรออีกสัก 25 วัน ถึงค่อยตัด โดยใช้เลื่อยตัดออกมาใส่ถุงดำขนาดเล็กที่เตรียมเอาไว้ ประมาณอีก 3 สัปดาห์ รากไผ่จะเดินเต็มถุง จึงสามารถจำหน่ายกิ่งพันธุ์ได้ ไผ่หม่าจูที่ได้จะมีขนาดความสูง 1.5 เมตร ขายราคา 150 บาท
คุณพินิจยังบอกอีกว่า ไผ่หม่าจูแตกต่างจากไผ่พันธุ์อื่นๆ คือให้ผลผลิตเร็ว เนื้อละเอียดไม่มีเสี้ยน รสชาติหวานกรอบ มีรสขื่นน้อย และเมื่อเข้าฤดูฝนประมาณเดือนเมษายน-พฤศจิกายน ต้นไผ่หม่าจูก็จะเริ่มให้หน่อเรื่อยๆ พอช่วงฤดูหนาวก็จะมีการพักต้น ประมาณ 3 เดือน
การผลิตไผ่หม่าจูนอกฤดูจะเริ่มประมาณเดือนมกราคม-เมษายน ช่วงนี้จึงควรให้น้ำเพิ่ม 3 วัน ต่อครั้ง และตัดแต่งกิ่งเก่าออก พร้อมกับเติมปุ๋ยคอกบริเวณโคนต้นไผ่ (ปุ๋ยขี้ไก่) ใส่ปีละ 3 ครั้ง ใส่ปุ๋ยน้ำหมัก ปุ๋ยพืชสด รออีกประมาณ 1 เดือน ขึ้นไป ต้นไผ่ก็จะเริ่มให้หน่อ แต่หน่อของไผ่หม่าจูจะออกน้อยกว่าช่วงเวลาปกติ
คุณพินิจ บอกว่า ไผ่หม่าจู จะสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง เช่น กาบใบของใบไผ่ที่ห่อหุ้มอยู่ที่ลำไผ่มีขนาดใหญ่กว่าไผ่ปกติประมาณเกือบ 2 เท่า ของใบไผ่ธรรมดา สามารถที่จะขายส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเป็นกล่องโฟม เพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ส่วนใบของมันยังนำไปห่อทำเป็นบ๊ะจ่าง ขนมสามเหลี่ยมที่ใส่ในน้ำหวาน และถ้าเป็นหน่อไผ่สดจะขายได้กิโลกรัมละ 20-80 บาท ชนิดที่เขาอบแห้งขายกิโลกรัมละ 200 บาท
ด้านการตลาด ไผ่หม่าจู มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดีมาก โดยเฉพาะตลาดกิ่งพันธุ์ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก แต่ยังผลิตขายได้น้อย หากผู้อ่านท่านใดสนใจอยากทราบเกี่ยวกับไผ่หม่าจู ก็สามารถติดต่อขอข้อมูลจากคุณพินิจได้ตามที่อยู่ข้างต้น รับประกันความผิดหวัง
วิธีปลูก เพื่อเก็บหน่อขายเป็นอาชีพเริ่มจากขุดหลุมลึกและกว้าง 1 คูณ 1 เมตร ปลูกห่างกัน 4 คูณ 4 เมตร หลังจากนำต้นลงปลูกระยะแรกให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเช้าเย็น พร้อมบำรุงปุ๋ยจำพวกขี้วัวหรือขี้ควายแห้งสลับกับปุ๋ยคอกกลบฝังดินรอบโคนต้น เดือนละครั้ง พอต้นเริ่มแตกกิ่งใหม่ให้เห็นแสดงว่าต้นเคยดินและลากแข็งแรงเดินหาอาหารได้ แล้ว คอยพรวนดินรอบโคนต้นประจำ พร้อมเก็บวัชพืชอื่นๆที่ขึ้นอยู่ทิ้งให้หมด ประมาณ 6-7 เดือน หลังปลูก "ไผ่หวานหม่าจู" จะเริ่มแทงหน่อขึ้นเหนือดินให้เห็น ให้สังเกตว่าหน่อมีขนาดใหญ่สูงประมาณ 1 ฟุตเศษ สามารถเก็บเกี่ยวหน่อได้และบำรุงปุ๋ยให้ต้นทันที ถ้าลำไผ่ต้นไหนอายุนาน 1.5 ปี ให้ตัดโคนเอาลำไผ่ ไปใช้ประโยชน์หรือขายได้ เพื่อจะสร้างหน่อหรือต้นใหม่ขึ้นมาแทน และพยายามให้ต้นไผ่แตกกออยู่ในวงพอดี ไม่ควรให้กระจายกว้างเกินไป ปฏิบัติเช่นนี้เป็นวัฏจักรจะทำให้ "ไผ่หวานหม่าจู" มีหน่อให้เก็บกินและเก็บขายได้เกือบทั้งปี
ประโยชน์อื่นๆ ชาวจีนใช้ ใบของ "ไผ่หวานหม่าจู" หมักเป็นเหล้าธรรมชาติเรียกว่า "เหล้าจู๋-เย้ชิง" ใบกับรากต้มรวมกันดื่มเป็นน้ำชารักษาโรคมดลูกอักเสบ ขจัดระดูขาวและประจำเดือนไม่ปกติในสตรี ขับปัสสาวะ รักษาไตได้ อีกด้วย
ไผ่ หวานหม่าจู หรือ DEND-ROCA LAMUS LATIFLERUS มีชื่อสามัญว่า TAIWAN GIANT BAMBOO ปัจจุบันมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง "คุณหลงคุณก็อต" ตรงกันข้ามโครงการ 15 ราคาสอบถามกันเอง ถิ่นกำเนิดประเทศไต้หวันและประเทศจีน เนื้อของหน่อมีรสชาติอร่อย ไม่ขม สามารถปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง
ที่มา :http://www.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=0503011147&srcday=2004/11/01&search=no และไทยรัฐ
ภาพ ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น