วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ผักกาดเขียวปลี

ผักกาดเขียวปลีชื่อวิทยาศาสตร์ : Juncea (L.), Czern.

ลักษณะเด่นของผักกาดเขียวปลี
กาบใบใหญ่และหนา ใบสั้น เข้าหัวดี แน่นไม่แตกแขนง น้ำหนักดี ผลผลิตสูง อายุเก็บเกี่ยว 55-60 วัน หลังย้ายกล้า

การเตรียมดิน จะเตรียมดิน 3 ครั้ง คือ
-ครั้งที่ 1 ไถดะ
-ครั้งที่ 2 ไถแปร
-ครั้งที่ 3 คราดและยกร่อง

อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์

ปกติเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวปล 1 กระป๋อง /ไร่ (กระป๋องละ 500 กรัม) เมล็ดพันธุ์หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป โดยใช้ขวดเครื่องดื่มชูกำลัง เช่น ขวดลิโพ ขวดกระทิงแดง เจาะฝาให้เป็นรูเล็ก ๆ มัดกับไม้ไผ่เดิน หยอดเป็นหลุมเมื่อกล้าโตและแข็งแรงดีแล้ว จึงถอนต้นผักกาดทิ้งให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

การให้น้ำ
ระยะกล้าจะใช้วิธีตักรดเป็นหลุมหลังจากกล้าโตขึ้นจึงใช้สายยางฉีดรดทั่วทั้งแปลงและเมื่อผักโตขึ้นอีกระยะหนึ่ง จึงใช้วิธีปล่อยน้ำเข้าตามร่องที่แบ่งไว้ แต่ปัจจุบันเกษตรกรหันมาใช้สปริงเกอร์กันมาก
ขึ้นแล้ว เนื่องจากสะดวกและประหยัดแรงงาน

การใช้ปุ๋ยผักกาดเขียวปลี

ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ โดยแบ่งใส่ 3 ครั้ง ปุ๋ยสูตร
46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ช่วงกล้าเริ่มเจริญเติบโต ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ฉีดฮอร์โมนเร่งการห่อหัวของใบผักกาดเขียวปลี

ผลผลิตผักกาดเขียวปลีเฉลี่ย 7,000 กิโลกรัม /ไร่

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ : ได้แก่

1. โรคกึนหรือโอเกง สาเหตุเกิดจากขาดธาตุโบรอน มักเกิดในพื้นที่ที่มีการปลูกผักกาดเขียวปลีติดต่อกันหลายๆ ครั้ง การขาดธาตุโบรอนจะทำให้ต้นพืชแคระแกร็นและมักจะเกิดมีรอยแตกขึ้นตามผิวของส่วนต่างๆ เช่น ลำต้น ก้านใบ เมื่อขุดขึ้นมาดู ปลายรากจะแห้งตายเป็นสีดำ หากเป็นมากเมื่อผ่าดูไส้กลางลำต้นจะเป็นรอยซ้ำสีดำ เมื่อนำไปดองจะทำให้คุณภาพไม่ดี ป้องกันโดยการให้ธาตุโบรอนลงไปในดิน

2. โรคราน้ำค้าง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา อาการจะเริ่มปรากฏที่ใบล่างก่อน โดยเริ่มแรกจะเป็นแผลขนาดเล็ดและสีซีดจาง ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น รูปร่างแผลไม่แน่นอน เมื่อพลิกดูใต้ใบเนื้อเยื่อใบบริเวณใต้แปลจะยุบตัวลง ขอบแผลไม่สม่ำเสมอ ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นจะพบส่วนของเชื้อเจริญอยู่บริเวณแผลด้านใต้ใบ ในช่วงเช้าที่มีอากาศ ชื้นจะพบส่วนของเชื้อเจริญอยู่บริเวณแผลด้านใต้ใบ โดยเฉพาะ ที่ส่วนของแผลเป็นขุยสีขาวปรากฏให้เห็น เมื่อเป็นมากๆ จะทำให้ใบไม้และแห้งตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด : คลุกเมล็ดด้วยเมทาแล็คซิลในอัตรา 7 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กก. กำจัดวัชพืชในแปลงและฉีดพ่นด้วยสารเคมีแคปตาโฟลหรือแมนโคเซบในอัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อผักกาดเขียวปลีอายุได้ 1 เดือน เละเมื่อปรากฏอาการของโรคขึ้น

3. โรคเน่าเละ เป็นโรคที่มักเกิดกับต้นที่ตัดออกจากแปลงแล้ว สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด อาการเริ่มแรกจะปรากฏเป็นจุดฉ่ำน้ำใสๆ ซึ่งมักเกิดตรงบริเวณรอยแผลที่ถูกตัดออกจากต้น แผลจะขยายใหญ่ขึ้นและลุกลามไปเรื่อยๆ โดยไม่มีขอบเขต เนื้อเยื่อบริเวณแผลจะยุบตัวลง น้ำจากเซลล์ที่ถูกทำลายจะทำให้แผลเปียกเยิ้ม เกิดการเน่าเละมีกลิ่นเหม็น

การป้องกันกำจัด : ระวังอย่าให้เกิดแผลหรือรยช้ำทั้งในขณะเก็บเกี่ยวและขนส่ง ในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดีและไม่รดน้ำมากจนเกินไป ฉีดยาฆ่าแมลงเพื่อกำจัดแมลงปากกัดต่างๆ ในแปลงปลูก

4. หนอนกระทู้ผัก หนอนชนิดนี้สังเกตง่าย คือ ลำตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบ มีสีสันต่างๆ กัน แถบสีขาวข้างลำตัวไม่ค่อยชัด หัวมักมีจุดสีดำใหญ่ตรงปล้องที่สาม แต่ถ้าหนอนมีขนาดใหญ่ มักจะเห็นจุดสีดำไม่ค่อยชัดเจน เมื่อโตเต็มที่ ตัวจะยาวประมาณ 3- 4 ซม.

ลักษณะการเข้าทำลาย : โดยหนอนกระทู้ผักจะกัดกินใบ ก้านใบหรือเข้าทำลายปลี ตัวหนอนจะกัดกินใบจนผิวบางใสหรือเป็นรพรุนไปหมด มักจะเข้าทำลายเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่วางไข่ไว้

การป้องกันกำจัด : หมั่นตรวจดูสวนผักอยู่เสมอ เมื่อพบไข่ควรทำลายเสีย ส่วนสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่น ได้แก่ เมโธมิล อัตรา 10-12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

4. ด้วงหมัดผักกาด ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร เมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดดโดยอาศัยขาหลัง ส่วนโคนขาใหญ่จึงสามารถดีดตัวไปได้ไกล ด้วงหมัดผักนับเป็นศัตรูที่สำคัญของผักกาด เข้าทำลายได้ตลอดทั้งปี โดยตัวเต็มวัยจะกัดกินใบจนเป็นรูพรุนสร้างความเสียหายในระยะที่ผักกำลังเจริญเติบโต สำหรับตัวอ่อยที่เป็นหนอนจะกัดกินตรงส่วนราก

การป้องกันกำจัด : ไม่ควรปลูกผักชนิดเดียวกันซ้ำที่เดิม การไถตากดินในฤดูแล้งจะเป็นช่วยทำลายตัวอ่อนและดักแด้อยู่ใต้ดิน และฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85% ในอัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...