วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มะเขือเทศเชอรี่

มะเขือเทศเชอรี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum
มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบชายฝั่ง ทะเลตะวันตกของทวีป อเมริกาใต้แถบประเทศเปรู ชิลี และอีเควเตอร์ เป็นพืชในตระกูลเดียวกับพรก ยาสูบ มันฝรั่ง มีลำต้นและระบบกิ่งก้านที่แตกแขนง สลับกันเป็นจำนวนมาก ลำต้นอ่อนมีขน ปกคลุม ลำต้นแก่มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ในระยะแรกของการเจริญเติบโต ลำต้นตั้งตรงใน ระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อลำต้นสูง 1-2 ฟุต จะทอดไปในแนวราบ ใบ เป็นใบประกอบเจริญ สลับกัน มีขนอ่อนขึ้นบนใบและมีต่อมสารระเหยที่ขน เมื่อถูกรบกวนจะปลดปล่อยสาร ที่มีกลิ่นออกมา สายพันธุ์ส่วนใหญ่ขอบใบหยัก ระบบรากมะเขือเทศเป็นระบบรากแก้ว เจริญเติบโตได้เร็ว ดอกมะเขือเทศเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมะเขือเทศจะอยู่สลับกันใน ช่อ ช่อดอกสามารถแตกกิ่งได้มากกว่าสองกิ่ง และการเจริญเติบโต ของกิ่งจะดำเนิน ต่อไป จนกระทั่งดอกช่อแรกบาน การเพิ่มจำนวนช่อดอกจะทำได้ โดยการใช้อุณหภูมิต่ำ มะเขือเทศส่วนใหญ่ผสมตัวเอ ผลเป็นแบบ berry จะมีรูปร่างลักษณะ เช่น กลม กลมแป้น กลมยาว หรือเป็นเหลี่ยม ผิวของมะเขือเทศจะไม่มีสีผิว ส่วนผลสีชมพู หรือเหลืองเกิด จากเนื้อผล

สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

อุณหภูมิ การปลูกมะเขือเทศดอยคำในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จะให้ผลผลิตและคุณภาพที่แตกต่างกัน โดยผลผลิตจะลงลงเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำกว่า 12.8′C และสูงกว่า 32.2′C ละอองเกสรจะเป็นหมันไม่สามารถงอกท่อละอองเกสรลงไปผสมไข่ในรังได้ อุณหภูมิที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15-25′C

ช่วงแสง ทีเหมาะสมสำหรับการเจริญ และผลผลิตมะเขือเทศดอยคำอยู่ระหว่าง 8-16 ชั่วโมงต่อวัน ในช่วงแสงไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัีน ช่อดอกจะเจริญเติบโต และติดผลเร็ว คุณภาพแสงสีน้ำเงินจะช่วยให้ มะเขือเทศ มีข้อสั้นกว่าสีแดง

ดิน มะเขือเทศดอยคำสามารถเจริญได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีหน้าดินลึก ระบายน้ำได้ดี มีอินทรีย์วัตถุสูง pH 6.0-6.5

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

มะเขือเทศดอยคำ เป็นมะเขือเทศรับประทานสด มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย เนื้อเนียนฉ่ำ รสชาติกลมกล่อม เป็นแหล่งของคาโรนีนอยด์ และโปแทสเซียม อุดมด้วยวิตามินและวิตามินอี

การปฏิบัติดูแลรักษามะเขือเทศดอยคำในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เก็บวัชพืชออกให้หมด ย่อยดินแล้วใส่ปูนขาวคลุกเคล้า ร่วมกับปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. และปุ๋ยสูตร 0-4-0 อัตรา 100 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ควรใส่โดโลไมท์ อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.

การเตรียมกล้า เพาะกล้าในถาดหลุมโดยหยอดเมล็ดลงในถาดหลุมที่มีดินผสม ปุ๋ยหมัก : แกลบ : ทรายละเอียด อัตรา 3:1:1

การปลูก ทำแปลงกว้าง 1 ม. เว้นร่องน้ำ 70 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 40-50 ซม. เวลาปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้ากน แล้วย้ายกล้ามาปลูกกลบดินรดน้ำให้ชุ่มพอสมควร

การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 1-2 ครั้ง

การให้ปุ๋ย

การให้ปุ๋ยพร้อมน้ำระบบ Fertigation ในอัตราดังนี้
ระยะที่ 1 ปุ๋ย 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก
หรือ สูตรใกล้เคียง อัตราใช้ 0.25-1 กรัม/ตร.ม./วัน
ระยะที่ 2 ปุ๋ยสูตร 46-0-0 1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-20-20 1.2 ส่วนน้ำหนัก

หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ตร.ม./วัน
ระยะที่ 3 ปุ๋ย 0-0-51 1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-10-35 5 ส่วนน้ำหนัก

หรือปุ๋ย 20-10-30 หรือปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ตร.ม./วัน
ให้ปุ๋ยเม็ด

ครั้งที่ 1 หลังปลูก 7-15 วัน ใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 46-0-0 อัตรา 25 กรัม/ตร.ม. เพื่อเร่งการเตริบโต
ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม.
ครั้งที่ 3 หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 15 วัน ใส่ปุ่ย 0-0-60 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม.
การเก็บเี่กี่ยว เก็บเกี่ยวในระยะที่เริ่มเปลี่ยนสี 30 เปอร์เซนต์ ของพื้นที่ผิวทั้งหมด

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของมะเขือเทศเชอรี่ในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 20-25 วัน โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, รากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนชอนใบ

ระยะติดผลแรก 55 วัน โรคใบจุด, โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, รากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนชอนใบ

ระยะเก็บเกี่ยวผลชุดที่ 1-2 (85-100 วัน) โรคใบจุด, โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, รากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนเจาะผล, หนอนเจาะผล, หนอนชอนใบ

ระยะเก็บเกี่ยวผล ชุดที่ 3-4 (115-130 ขึ้นไป) โรคใบจุด, โรคใบไหม้, โรคเหี่ยว, โรคไวรัส, รากปม, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนเจาะผล, หนอนเจาะผล, หนอนชอนใบ


จากเว็บ http://www.trytodream.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...