วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ต้นแววมยุรา (Torenia)

ต้นแววมยุรา (Torenia)
ต้นแววมยุรา (Torenia)เป็นไม้ดอกล้มลุก มีถิ่นกำเนิดมาจากเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของทวีปเอเชีย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยและพบได้ทั่วไปตามภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ต้นแววมยุรา มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ  Torenia fournieri Linden. ex E.Fourn. เป็นพืชในวงศ์ Scrophulariaceae  สกุล Scrophulariaceae และอยู่ในสปีชีส์ T.  fournieri

ลักษณะของต้นแววมยุรา  ลำต้นและกิ่งจะเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ลำต้นตรงมีขนสีขาวปกคลุมอยู่  ใบจะเป็นรูปไข่รียาว โคนของใบเว้าเข้าตรงกลางเหมือนหัวใจ ส่วนด้านปลายจะเว้าเข้าตรงกลางเป็นปลายแหลม ขอบใบหยักเหมือนฟันเลื่อย ออกใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบจะบาง มีสีเขียว และมีขนปกคลุมด้านหลังใบและท้องใบ มองเห็นเส้นใบชัดเจน ดอกจะมีหลายสี เช่น แดง ชมพู ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน หรือมีหลายสีในดอกเดียวกัน ดอกจะออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง  โคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอดคล้ายกรวยยาว ส่วนปลายกลีบจะแตกเป็นกลีบดอก 5 แฉก คล้ายปากแตร ขนาดกลีบดอกไม่เท่ากัน ปลายกลีบจะมีขนปกคลุม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียในดอกเดียวกัน สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปีและจะออกดอกเยอะช่วงหน้าฝน  ผลเป็นฝักรูปรีหรือทรงกระบอกขั้วฝักจะมีกลีบเลี้ยงติดแน่นอยู่ เมื่อฝักแห้งจะแตกให้เห็นข้างในซึ่งมีเมล็ดจำนวนมาก

สรรพคุณ รากสดทุบพอแหลก หรือทุบผสมเกลือ อมแก้ปวดฟัน
ประโยชน์ด้านอื่น  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับตามตามอาคารสถานที่ทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคารให้ดูสวยงาม สดใส และยังช่วยดูดซับสารพิษในอากาศได้

การขยายพันธุ์  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ต้นแววมยุราเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศอบอุ่นมีร่มหรือกึ่งร่ม ไม่ชอบโดนแสงแดดโดยตรง ชอบดินร่วนปนทรายที่มีความชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำขัง ค่า pH ของดินควรอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 อุณหภูมิ 21-25 องศาเซลเซียส จะทำให้ต้นแววมยุราทนทานต่อโรคและศัตรูพืช ออกดอกมาก


bfd53 | shopping booksmark | welcome robot | music online | bioly1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...