ชะพลู |
ชะพลู ถือเป็นไม้ล้มลุกต้นเตี้ยเพราะมีเถาเลื้อยไปตามพื้น
ชะพลู มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Piper sarmentosum Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ Piperaceae
ความนิยม คนไทยนิยมนำใบชะพลูมาประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็น แกงหอย แกงปลาไหล แกงกะทิ ห่อหมก และนำใบมาห่อเป็นเมี่ยงคำ เป็นต้น ใบชะพลูมีกลิ่นฉุนรสชาติจะเผ็ดเล็กน้อย
ลักษณะของชะพลู ใบจะมีลักษณะเป็นรูปหัวใจปลายแหลมคล้ายใบพลู (ชะพลูกับพลูเป็นพืชคนละชนิดกันนะคะ)แต่ใบชะพลูจะมีขนาดใบที่เล็กกว่า ใบมีสีเข้มเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ จะเห็นเส้นใบชัดเจน ใบบางเป็นมันหลังใบจะมีสารคิวตินเคลือบชั้นผิวเพื่อลดการคายน้ำ มีกลิ่นฉุน ต้นชะพลูจะเลื้อยทอดไปตามพื้น ลำต้นเป็นข้อมีสีเขียวเข้ม มีรากออกตามข้อ
การออกดอกของต้นชะพลู จะออกดอกเป็นช่ออัดแน่นที่ปลายยอดรูปทรงกระบอกขนาดเล็กคล้ายๆดีปลีแต่สั้นกว่า มีดอกย่อยขนาดเล็กอัดแน่นบนแกนช่อดอกกลีบดอกมีสีขาว
การขยายพันธุ์ ชะพลูเป็นพืชที่ชอบพื้นที่ลุ่มมีความชื้นสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการปักชำเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ ก่อนจะนำไปปักชำให้เด็ดใบแก่ทิ้งก่อน
สรรพคุณของชะพลู ชะพลูเป็นพืชที่มี เบตาแคโรทีน สูงมาก (เบตาแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอช่วยในการรักษาสุขภาพและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย สามารถต้านอนุมูลอิสระลและลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง)ทั้งนี้ยังช่วย ขับเสมหะ แก้ธาตุพิการ รักษาเบาหวาน บำรุงน้ำดี แก้ปวดท้องจุกเสียด แก้เบื่ออาหาร แก้ท้องอืด แก้โรคบิด ช่วยขับลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วยขับเหงื่อ ช่วยบำรุงสายตา
ข้อควรระวัง ใบชะพลูมีแคลเซียมออกซาเลตสูง(แคลเซียมออกซาเลต(Oxalate)เป็นสารยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมและแร่ธาตุในร่างกายหลายชนิดในเลือด)ถ้ารับประทานมากๆติดต่อกันนานๆจะเข้าไปตกผลึกสะสมในไตและกระเพาะปัสสาวะทำให้เป็นนิ่วได้
ในการรักษาโรคเบาหวานจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็วต้องวัดระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังการใช้ และควรดื่มน้ำตามเยอะๆหลังจากกินใบชะพลู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น