![]() |
อ้อยดำ |
อ้อยชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ saccharum sinense อยู่ในวงศ์ Graminae
ความนิยม อ้อยชนิดนี้เป็นพืชพื้นบ้านของไทยคนไทยไม่นิยมนำมารับประทาน แต่นิยมนำมาทำเป็นยาสมุนไพร
ลักษณะของอ้อยดำ อ้อยดำจัดเป็นไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ ลำต้นเหมือนอ้อยทั่วไปแต่จะมีสีม่วงแดงถึงดำ ลำต้นกลมยาว มีไขสีขาวเคลือบลำต้น มีข้อปล้องชัดเจน ผิวเรียบ เปลือกมีสีแดงอมม่วง ที่ข้อจะมีตา ลำต้นแข็งแรงเป็นมัน เปลือกของอ้อยดำมีรสขม น้ำอ้อยไม่หวานเหมือนอ้อยทั่วไปและไม่ค่อยจะมีน้ำ “ใบ”จะเป็นใบเดี่ยวออกที่ข้อแบบเรียงสลับโคนของใบหุ้มลำต้น ใบเรียวยาวมีขนสากทั้ง 2 ด้านของใบ แผ่นใบมีสีม่วงเข้มมีไขสีขาวปกคลุม กลางใบเป็นร่อง ขอบใบจะคม “ดอก”อ้อยดำจะออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดของลำต้น จะออกดอกเมื่อก่เต็มที่ ช่อดอกจะมีดอกย่อยจำนวนมากสีขาวและมีขนยาว
เมื่อแก่จัดเมล็ดจะมีพู่ที่ปลายเมล็ดและร่วงลงพื้นหรือลอยไปตามลมเมื่อมีลมพัดมา “ราก”จะมีรากอากาศออกตามข้อที่ลำต้น
อ้อยชนิดนี้ขึ้นได้กับสภาพดินทุกชนิด เป็นพืชที่ชอบน้ำแต่ก็ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี
การขยายพันธุ์ อ้อยดำขยายพันธุ์ได้ด้วยการตัดชำหรือแยกหน่อ
อ้อยดำมีสารสำคัญคือ แอลกอฮอล์ กรดอะมิโน แอสพาราจีน ฟีโนลิก เอสเตอร์ อีเทอร์อัลคาลอยด์ ส่วนรากอ้อยก็มีธาตุหลายชนิดเช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โพแทสเซียม กำมะถัน ทำให้อ้อยดำเหมาะต่อการนำมาทำยาสมุนไพร
สรรพคุณของอ้อยดำ
-ถ้านำลำต้นสด/แห้งของอ้อยดำมาต้มกินเป็นประจำจะช่วย ขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว อาการไอ แก้ไข คอแห้ง กระหายน้ำ แก้ปวดประจำเดือน ช้ำใน
-ถ้านำแก่นมาต้มดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ ยาฟอกเลือด แก้ช้ำบวม แก้เบาหวาน แก้ไข ขับเสมหะ
-เปลือก/ชานอ้อย แก้ตานขโมย แก้แผลเน่าเปื่อย แผลกดทับ แผลอักเสบ แผลเรื้อรัง ฝีหนอง
-น้ำอ้อย แก้ตัวร้อน แก้ร้อนใน บำรุงกำลัง บำรุงธาตุน้ำ แก้พิษตานซาง แก้เมาค้าง แก้ช้ำ แก้ท้องผูก แก้ไตพิการ แก้หนองใน แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว บำรุงกระเพาะอาหาร แก้สะอึก บำรุงกำลัง แก้ขัดเบา แก้ตาฝ้าฟาง ทำให้เจริญอาหาร
ข้อควรระวัง อย่าใช้ในปริมาณที่มากเกินไป เพราะถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกายได้
bfd53 | shopping booksmark | welcome robot | music online | bioly1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น