วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กระทือ

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae

(ส่วนไม่จัดอันดับ) Angiosperms

(ชั้นไม่จัดอันดับ) Monocots

(อันดับไม่จัดอันดับ) Commelinids

อันดับ Zingiberales

วงศ์ Zingiberaceae

สกุล Zingiber

สปีชีส์ Z. zerumbet

ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm.

กระทือ เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับ และเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ด้านล่าง ของใบมักมีขนนุ่ม ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล ใบประดับขนาดใหญ่สีแดง ผลเป็นผลแห้ง

ชื่อท้องถิ่น
กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ (เหนือ) เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระทือเป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับ และเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ด้านล่าง ของใบมักมีขนนุ่ม ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล ใบประดับขนาดใหญ่สีแดง ผลเป็นผลแห้ง

ส่วนที่ใช้เป็นยา
เหง้าและรากนำเอาเหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟ พอสุกตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ

รสและสรรพคุณ
รสขมและขื่นเล็กน้อย ขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม

การเตรียมยาสมุนไพรอย่างง่ายและวิธีใช้
นำเอาเหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20กรัม) ย่างไฟพอสุกตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ

1 ความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...