วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กะเพรา

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae

ส่วน Magnoliophyta

ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Lamiales

วงศ์ Lamiaceae

สกุล Ocimum

สปีชีส์ O. tenuiflorum

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.

ชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง

ลักษณะ

ลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3
ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ใบ ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนดอก เป็นแบบช่อฉัตร
ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาวโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลมผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม.ผล แห้งแล้วแตกออก เมล็ด เล็ก รูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดงดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว

ประโยชน์ทางสมุนไพร

ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์ แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

สรรพคุณ

ใบ ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรองเอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆสะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง

เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย

ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

สรรพคุณสำคัญของใบกะเพรา ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้กันทั้งที่ใช้บริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็คือ สรรพคุณขับไขมันเคยสังเกตไหมว่า เหตุใดจึงมีตำรับอาหารไทยจำพวกผัดกะเพราเนื้อ กะเพราหมู กะเพราไก่ เหตุผลไม่เพียงแค่ใช้ใบกะเพราดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์เท่านั้น ต่ที่สำคัญคือช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายมีงานวิจัยหลายชิ้น หลายสำนักที่กล่าวถึงสรรพคุณอันหลากหลายของใบกะเพรา ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะสรรพคุณที่เชื่อมโยงกับฤทธิ์ลดไขมันและน้ำ ตาลของใบกะเพราเท่านั้น

ฤทธิ์ลดไขมัน

มีการใช้กะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายได้รับใบกะเพราสดผสมในอาหาร เพียง 1-2 กรัม/กก./วันเป็นเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เมื่อตรวจเลือดสัตว์ทดลองแล้ว พบว่า ระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม (Total Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ฟอสโฟไลปิด (Phospholipids) ลดลงอย่างฮวบฮาบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลตัวเลว
(Low Density Lipoprotein-LDL-Cholesterol) ลดลง พอๆ กับที่ คอเลสเตอรอลตัวดี (High Density-HDL-
Cholesterol) เพิ่มขึ้น

ฤทธิ์ลดน้ำตาล

จากการศึกษาในหนูทดลอง ให้ผงใบกะเพราขนาด 200 มิลลิกรัม/กก./วัน ในหนู 3 ประเภท ได้แก่ หนูปกติ หนูที่มีภาวะน้ำตาลสูงจากการให้กลูโคส และหนูที่เป็นเบาหวานโดยการทำลายตับอ่อน พบว่า กะเพราสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองทั้ง 3 ประเภท นอกจากนี้ น้ำมันหอม ระเหยในใบกะเพรา (Basil Essential Oil) ยังช่วยให้กลไกควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นปกติด้วยแน่นอนเมื่อใบกะเพรามีฤทธิ์ลดไขมันและน้ำตาลอย่างมีประสิทธภาพแล้วย่อมมีผลทำให้มวลร่างกายลดลงอย่างเห็นหน้าเห็นหลัง โดยเฉพาะน้ำตาลนั้น เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนมากกว่าไขมันเสียอีก อย่างไรก็ตาม การบริโภคใบกะเพราให้ได้ผลในการลดความอ้วนนั้น จะต้องบริโภคทุกวันให้ถูกวิธี ดังนี้

1.ความสดของใบกะเพรา ใบกะเพราะสดมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่าใบกะเพราที่ปรุงสุกแล้ว หรือถ้าใช้ผงกะเพรา จะต้องได้จากกระบวนการอบระเหย เอาเฉพาะน้ำออกไปโดยไม่สูญเสีย น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดในใบกะเพรา
2.ขนาดการใช้ กรณีการใช้กะเพราในคนก็ใช้ในขนาดเท่ากับในสัตว์ทดลองคือ กะเพราสด 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน คือถ้าคนหนัก 70 กิโลกรัม ก็ต้องบริโภคใบกะเพราะสด วันละปริมาณ 140-150 กรัมถ้าสามารถบริโภคกะเพราตามวิธีข้างต้นรับรองว่า นอกจากสามารถลดน้ำหนักร่างกายให้ได้ หุ่นสมาร์ทสมใจนึกแล้ว ยังสมาร์ทอย่างมีสุขภาพดีด้วยเพราะใบกะเพรานั้น นอกจากมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดน้ำตาลแล้ว ยังมีฤทธิ์รักษาโรคเบาหวาน ลดการทำลายผนังหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตัน ลดภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งป้องกันโรคหัวใจวาย และโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นจำนวนมากในพลเมืองคนอ้วนทั้งหลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...