วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

น้ำเต้า

น้ำเต้า (bottle gourd)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagenaria siceraria Standl.


ชื่อเรียกในท้องถิ่น : คิลูส่า, มะน้ำเต้า


น้ำเต้าเป็นไม้เถา ขนาดใหญ่ ซึ่งอาจมีความยาวกว่า 10 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะที่แยกออกเป็น 2 ทาง ใบมีขนาดใหญ่คล้ายรูปหัวใจ ผิวใบ ขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักบริเวณใบ 5-9 หยัก ก้านใบยาวประมาณ 20 ซม. รากจะเป็นระบบรากตื้น ในส่วนของผลมีตั้งแต่ ขนาด เล็กจนถึงขนาดใหญ่

“ผลมีเนื้อในสีขาวหรือสีเขียวค่อนข้างจะนุ่ม เปลือกมีสีเขียวเป็นลาย จริง ๆ แล้วน้ำเต้ามีอยู่หลายสายพันธุ์ อาทิ น้ำเต้าพื้นบ้าน น้ำเต้าทรงเซียน ซึ่งเป็นทรงที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ถ้าเราดูหนังจีนจะเห็นว่ามีน้ำเต้าทรงเซียนที่นักแสดงนำมาประกอบฉาก แต่น้ำเต้าพื้นบ้านเราก็สามารถนำมาตากแห้งเคลือบแล็กเกอร์ทำเป็นเครื่องประดับ ก็ได้แต่ไม่ค่อยนิยม กันเท่าไรนัก เนื่องจากผิดกัน ตามรูปทรง ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานมากกว่า”

แหล่งที่พบน้ำเต้า
จะเห็นว่าน้ำเต้าสามารถปลูกที่ใดก็ได้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินและถ้านำไปปลูกก็จะขึ้นอยู่กับ ผู้ที่ปลูกว่ามีการดูแลรักษามาก น้อยเท่าใด นิยมใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์

การปลูกน้ำเต้า
จะต้องเตรียมดินให้มีการไถพรวน และยกร่องแปลงปลูกกว้างประมาณ 4 เมตร จะนิยมขุดหลุมปลูกให้กว้าง 15-20 เซนติเมตร ลึก 2-3 เซนติเมตร ขุดกลุมห่างกัน 2 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมารองก้นหลุม หลังจากนั้นก็หยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะใช้เมล็ดน้ำเต้าจำนวน 1.5 กิโลกรัม หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนให้มีความหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร นำฟางข้าวแห้งหรือหญ้าคาคลุมบนหลุมเพื่อรักษาความชื้นในดินให้มากที่สุด หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่มไปเรื่อย ๆ ประมาณ 7- 10 วัน จนกว่าน้ำเต้าจะงอก หมั่นดูแลหากต้นน้ำเต้าขึ้นมาทั้งหมดให้ถอนทิ้งให้เหลือเพียง 2 ต้นก็พอ เพื่อให้เจริญเติบโตเต็มที่

การดูแลรักษาน้ำเต้าหลังการปลูก
น้ำเต้าเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ต้องการความชื้นปานกลาง หลังจากต้นโตให้รดน้ำประมาณ 3-5 วัน/ครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของ ดินปลูก ว่ามีความแห้งแล้งเพียงใด ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ ดินปลูกเริ่มแห้งก้ต้องรดน้ำให้ถี่ขึ้น แต่ต้องคอยดูไม่ให้ดินแฉะมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรครากเน่า หลังปลูกไปได้ประมาณ 25-30 วัน หรือเริ่มมีใบจริง 4-5 ใบ จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่บริเวณโคนต้น ไม่ควรพรวนดินให้ลึกเกินไป เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อระบบรากไปจนถึงต้นเลยทีเดียว

การกำจัดวัชพืช
ควรจะมีการกำจัดวัชพืชให้น้ำเต้า อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในช่วงที่น้ำเต้ายังเล็กอยู่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะคลุมพื้นที่ปลูกทั้งหมด จะช่วยลดการกำจัดวัชพืชลงได้บ้างบางส่วน

โรคและแมลง
น้ำเต้ามีโรคและแมลงรบกวนค่อนข้างน้อย เนื่องจากใบของน้ำเต้ามีกลิ่นเหม็น แมลงไม่ชอบ มีข้อควรระวังอย่างเดียวคือ เรื่องของการให้น้ำอย่าแฉะเกินไปจนทำให้เกิดโรคราก-โคนเน่า

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 55-60 วัน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้เราเลือกผลที่เหมาะที่จะนำมารับประทานมากที่สุดให้สังเกตในช่วง หลังดอกบาน 6-7 วัน ให้เริ่มทยอยเก็บ จะเก็บในลักษณะวันเว้นวัน ทำเช่นนี้ไปจนหมดผลผลิต

การใช้ประโยชน์ของน้ำเต้า
ผลน้ำเต้าสามารถนำมารับประทานกับน้ำพริก ผัดกับหมูและไข่ แกงส้ม สรรพคุณทางยา ใบ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เริม เป็นต้น

คุณสมบัติในการใช้รักษาโรคของน้ำเต้า
1. โรคเบาหวาน


2. ท่อปัสสาวะอักเสบ


3. โรคปอดอักเสบ จะใช้ส่วนที่เป็นเปลือกสดรับประทาน


4. แก้ปวดฝีในเด็ก โดยใช้น้ำเต้าหั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมขิงต้มเป็นน้ำซุปรับประทาน


5. โรคลูกอัณฑะบวมให้ใช้ลูกน้ำเต้ามาต้มรับประทาน


6. โรคทางลำคอให้ใช้ลูกน้ำเต้าที่แก่ ๆ ตัดจุก แล้วใส่น้ำไว้รับประทานเป็นโรคประจำจะสามารถป้องกันรักษาโรคทางลำคอได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...