วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตะลิงปลิง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Averrhoa bilimbi L.

วงศ์ OXALIDACEAE

ชื่อสามัญ ตะลิงปลิง

ชื่อสามัญ (อังกฤษ) Bilimbi, Bilimbing,
Cucumber Tree

ชื่อท้องถิ่น มะเฟืองตรน, หลิงปลิง(ใต้), กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส)

ตะลิงปลิงเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนิเซีย และพบตวามชายทะเลในประเทศบราซิล มีการปลูกในประเทศไทยนานแล้วพบทั่วไปตามสวนและตามบ้าน ออกผลตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นพวงแน่นและสวยงาม จึงเป็นที่นิยิมปลูกทั่วไป เป็นไม้ผลใช้บริโภค ตะลิงปลิงอยู่ในสกุลเดียวกับมะเฟือง หรืออยู่ตรงกลางระหว่างมะเเฟืองกับมะดัน

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5 – 10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง

ใบ ใบประกอบแบบขนนก ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 11 - 37 ใบ ใบย่อยรูปหอก ปลายใบแหลม โคนมน จะเรียงจากขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่ ที่โคนจะมีขนาดเล็ก ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่

ดอก ออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามลำต้นหรือกิ่ง ในแต่ละช่อมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ดอกมี 5 กลีบ สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยง 5 กลีบเช่นกัน สีเขียวอมชมพู ดอกมีกลิ่น เกสรกลางดอกมีสีเขียว

ผล ผลกลมยาวปลายมน ผลยาว 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นพูตามยาว ผิวเรียบมีสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รศเปรี้ยว เมล็ดแบน


เมล็ด มีลักษณะแบนยาวสีขาว

การปลูก

ตะลิงปลิงเป็นพรรณไม้ท้องถิ่นของประเทศในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในประเทศบราซิล ในเมืองไทยเป็นไม้ที่ชาวบ้านนำมาปลูกตามบ้าน ตะลิงปลิงชอบดินร่วนปนทราย ตะลิงปลิงขยายพันธุ์ได้หลายวิธี คือ การเพาะเมล็ด การติดตา การต่อกิ่ง การทาบกิ่งและการตอนกิ่ง การตอนกิ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมและดีกว่าวิธีอื่น

การใช้ประโยชน์

ผลตะลิงปลิงมีรสเปรี้ยวจัด นิยมใช้แกงส้ม แกงคั่ว ทำน้ำพริก ต้มหมู ต้มเนื้อ ยำต่าง ๆ นำมาดอง หรือหั่นเป็นเล็กๆ กินกับขนมจีน หรืใช้แทนมะนาวในเมี่ยวคำ (ภูเก็ต)

ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม ของผลตะลิงปลิง มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 92.5 กรัม ในพลังงาน 27 กิโลแคลลอรี่ มีไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรท 6.3 กรัม เส้นใย 0.6 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม เหล็ก 0.6 มิลลอกรัม วิตามินเอ 175 Internation Unit วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 35 มิลลิกรัม

สรรพคุณในตำรายาไทย

ราก : สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่

ใบ : สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว

ดอก : นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ

ผล : สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...