วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อบเชยเถา

อบเชยเถา

ชื่ออื่น ๆ : กำหยาน, กู้ดิน, เครือเขาใหม่ (เหนือ) . เชือกเถา (นครสวรรค์) ; อบเชยป่า (กรุงเทพ) . อบเชยเถา (กลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atherolepis pierrei Cost. Var. glabra Kerr.

วงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะ ทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้เถาขนาดเล็ก ลำต้นจะมีขนสั้น และมีน้ำยางเป็นสีขาว เลือกนั้นจะมีช่องระบายอากาศรูปไข่ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป

ใบ : จะเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะใบจะเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ก้านใบมีความยาวประมาณ
2 มม. และมีขน หูใบจะสั้นมาก ใบอ่อนจะมีขนตามเส้นกลางใบและเส้นใบ ขนนั้นจะค่อย ๆ หลุดร่วงไปเมื่อใบนั้นแก่และใบจะมีความกว้างประมาณ 8-28 มม. ยางประมาณ 2.5-6 ซม.

ดอก : จะออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อหนึ่งจะมีอยู่ 3-4 ดอก กลีบดอกจะมีฐานติดกันเป็นท่อสั้น ๆ ตรงปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม กลีบดอกจะบิดไปทางเดียวกัน ถ้าดอกนั้นบานจะกางออกแบบดอกมะเขือ จะมีขนประปรายทั้งด้านนอก และด้านใน เกสรตัวผู้มี 5 อัน ก้านเกสรจะไม่ติดกัน อับเรณูจะเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ตรงปลายแหลม ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน ตรงปลายเกสรใหญ่กว่าท่อเกสร และเป็นรูปห้าเหลี่ยมปลายแหลมสั้น

การขยายพันธุ์ : โดยการทาบเถา

ส่วนที่ใช้ : ราก ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : ราก จะมีกลิ่นหอมคล้ายเปลือกอบเชย ใช้ปรุงเป็นยาหอมรักษาอาการหน้ามืดตาลาย อาการวิงเวียนศีรษะ และช่วยขับลมในลำไส้

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ พบขึ้นทั่วไปในประเทศ ตามชายป่า


กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...