วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แครอท

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Apiales
วงศ์ Apiaceae

สกุล Daucus
สปีชีส์ D. carota

ชื่อวิทยาศาสตร์ Daucus carota L.

แครอท อยู่ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) มีถิ่นกำเนิด อยู่แถบเอเชียกลาง จนถึงทางตะวันออก ต่อมาได้เผยแพร่เข้าไปใน ยุโรป และประเทศจีน แครอทเป็นพืชสองฤดู โดยฤดูแรกเจริญทางต้น ใบ และราก ฤดูที่สองจะเจริญทางดอก และเมล็ด ลักษณะลำต้นเป็นแผ่นใบ จะเจริญจากลำต้น เป็นกลุ่มมีก้านใบยาว ประกอบด้วย เปลือกบาง(Periderm) และส่วนของเนื้อ(Cortex) ซึ่งประกอบด้วยท่ออาหาร และเป็นแหล่งเก็บ อาหารสำรอง ส่วนใหญ่อยู่ในรูป ของน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ 45-65% ของหัว เนือสีขาว เหลือง ส้ม แดง ม่วงและดำ ส่วนของแกน(inner core) ประกอบด้วย ท่อน้ำ(xylem) และแกน(pith) แครอท สายพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง จะมีแกนขนาดเล็ก และมีสีเดียว กับเนื้อหรือมีส่วนของเนื้อ มากกว่าส่วนของแกน การปลูกฤดูที่สองเพื่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์ลำต้นจะยืดตัว สร้างก้านดอกยาว 2-4 ฟุต บนยอดมีช่อดอก ซึ่งช่อแรกจะเจริญ จากส่วนกลางของลำต้น ต่อจากนั้นช่ออื่นๆ จะเจริญตาม การผสมเกสรจะเป็น แบบผสมข้าม ส่วนใหญ่ แมลงเป็นตัวช่วยผสมเกสร

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
แครอทเจริญได้ดีในเขตหนาว โดยทั่วไปอุณหภูมิ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 25-28′C หากอุณหภูมิสูงกว่า 28′C จะทำให้การเจริญทางใบลดลง สำหรับอุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อการเจริญของหัวอยู่ระหว่าง 18-21′C หากมีความแตกต่างของอุณหภูมิ ระหว่างผิวดิน และระดับดินที่ลึกลงไป 10-15 เซนติเมตรมาก จะทำให้รูปทรงของหัว ไม่สม่ำเสมอ แครอทเป็นพืชที่ต้องการแสงมาก โดยเฉลี่ยวประมาณ 9-14 ชั่วโมง/วัน

แครอทเจริญได้ดีในดินละเอียด และร่วนซุย หน้าดินลึก มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำได้ดี ความเป็นกรด-ด่าง ของดิน 6.5-7.5 การปลูกในดินเหนียว หรือโครงสร้างดินแข็งจะทำให้หัวแตก มีรูปทรงผิดปกติ หาแปลง ปลูกมีความชื้นสูง หัวจะมี่แผลสีดำ

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
แครอท เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสาร Beta carotene โดยเฉพาะบริเวณส่วนของเปลือกแก่ ซึ่งสามารถเปลี่ยน เป็นวิตามินเอสูง (11,000 IU) นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินบี วิตามินเอ ช่วยทำให้ร่างกาย มีภูมิต้านทานโรคหวัด ป้องกันมะเร็ง ป้องกันอาการผิดปกติ ในกระดูก โรคผิวหนัง และรักษาสายตา

แครอท นิยมรับประทานสด ในสลัด หรือนำมาประกอบอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ผัด ต้มซุป ใส่แกงจืด ใช้ทำส้มตำแบบมะละกอ คั้นสดรับประทาน เป็นน้ำเพื่อสุขภาพ และช่วยเพิ่มสีสรรในจานอาหา

การปฏิบัติดูแลรักษาแครอทในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด และโรยปูนขาวอัตราม 0-100 กรัม/ตร.ม. ไว้อย่างน้อย 14 วัน กำจัดวัชพืช ขึ้นแปลงกว้าง 1 ม.

การเตรียมกล้า ปลูกโดยหยอดเมล็ด

การปลูก

1. ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 20-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดิน ปรับหน้าแปลงให้เรียบ
2. ขีดร่องลึก 1 ซม. ขวางแปลงห่างกันร่องละ 15 ซม.
3. หยอดเมล็ดที่ละเมล็ดระยะห่าง 1 ซม. กลบเมล็ดแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
4. การถอนแยก

ครั่งที่ 1 หลังหยอดเมล็ด 15-20 วัน (มีใบจริง 3-5 ใบ) เหลือระยะปลูก 3 ซม.
ครั้งที่ 2 หลังหยอดเมล็ด30-35 วัน (มีใบจริง 8-9 ใบ) เหลือระยะปลูก 5-8 ใบ

ข้อควรระวัง ช่วงแรกระวังมดคาบเมล็ดหรือแมลงกัดกินเมล็ด

การให้น้ำ หลังปลูกรดน้ำให้ชุ่ม และให้น้ำทุกวันสม่ำเสมอ แต่อย่าให้น้ำขัง หัวจะเน่า

การให้ปุ๋ย

1. หลังถอนแยกครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30-50 กรัม/ตร.ม. พร้อมกำจัดวัชพืช
2. หลังการใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15-20 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 30-50 กรัม/ตร.ม. โรยในร่องลึก 2-3 ซม. ระหว่างแถวปลูก

การเก็บเกี่ยว

1. เมื่อมีอายุได้ 100-120 วัน
2. เก็บเกี่ยวโดยการขุดเมื่ออายุและขนาดเหมาะสม
3. ล้างรากให้สะอาด ผึ่งให้แห้งระวังอย่าให้ผิวถลอก

ข้อควรระวัง

1. การหยอดเมล็ดอย่าให้เมล็ดที่หยอดติดกัน ระยะห่างประมาณ 1 ซม.
2. ควรให้น้ำสม่ำเสมออย่าให้แฉะเกินไป

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของแครอทในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

ระยะหยอดเมล็ด-ถอนแยก ครั้งที่ 1 อายุ 15-20 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม,

ระยะถอนแยก ครั้งที่ 2 อายุ 30-35 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน,

ระยะลงหัว 35-100 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน, โรคหัวเน่า,

ระยะเก็บเกี่ยว 100-120 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน, โรคหัวเน่า,



จากเว็บ http://www.vegetweb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...