วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กะหล่ำปลีแดง

กะหล่ำปลีแดง (Red Cabbage)

ชื่อวิทยาศาตร์ว่า Brassica oleraceae var. rubra

เป็นพืชล้มลุกสองปี มีลักษณะคล้าย กะหล่ำปลีธรรมดา แต่มีสีแดง เนื่องจากใบมีสาร anthocyanin จำนวนมาก ลักษณะลำต้นสั้นมาก ใบเดี่ยวสีแดง หนา และมีนวล ใบเรียงตัว สลับซ้อนกันแน่นหลายชั้น เรียงแน่น หัวกลมหรือค่อนข้างกลม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ดิน กะหล่ำปลีแดงสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินที่มีลักษณะโป่ง และร่วนซุย มีความชื้นในดิน และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 6-6.5
อุณหภูมิ สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตของกะหล่ำปลีแดงนั้นอยู่ระหว่าง 15-20′C หากอุณหภูมิสูงกว่า 25′C อัตราการเจริญและผลผลิตจะลดลง อย่างไรก็ตามระดับอุณหภูมิอาจมีผลกระทบแตกต่างกันบ้าง เล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เนื่องจากกะหล่ำปลีเป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดินมาก ระยะที่กะหล่ำปลีต้องการน้ำมากที่สุ ได้แก่ ระยะเริ่มห่อปลีและระยะการเจริญเติบโตเต็มที่

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของกะหล่ำปลีแดง
กะหล่ำปลีแดง เป็นพืชที่มีเยื่อใยอาหารสูง และอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน(สาร indols ซึ่งเป็นผลึกที่แยก มาจาก trytophan; กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซีซึ่งพบค่อนข้างมากกว่ากะหล่ำปลีสีเขียวถึง สองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์(Sulfer) ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ และต้านสารก่อ มะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีบ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคลอเรสเตอรอล ละช่วยงับประสาท ทำให้นอนหลับดี น้ำกะหล่ำปลีคั้นสดๆ ช่วยรักษาโรคกะเพาะ อย่างไรก็ตาม กะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้นำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควร กินกะหล่ำปลีสดๆ วัยละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป

กะหล่ำปลีแดง นิยมรับประทานสด เช่น ในสลัด หรือนำมาตกแต่งจานอาหาร การนำมาประกอบอาหาร ไม่ควรผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินและคุณค่าอาหาร

การปฏิบัติดูแลรักษากะหล่ำปลีในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมกล้า เพาะกล้าแบบประณีตในถาดหลุม หรือเพาะในแปลงก็ได้ อายุกล้าไม่ควรเกิน 25 วัน หากเพาะในแปลง ควรมีตาข่าย กันฝนกระแทก และควรใช้ไตรโครเดอร์มา คลุกวัสดุเพาะเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า หากไม่ได้เพาะในวัสดุปลูกสำเร็จรูป และฉีดพ่น เซฟวิน ปัองกันมด แมลง ทำลายเมล็ดพันธุ์

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด อย่างน้อย 14 วัน โรยปูนขาวอัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม.

การปลูก ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.5 เมตร สำหรับฤดูฝนให้แปลงสูงกว่าปกติ 30-35 ซม. เพื่อการระบายน้ำ รองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก อัตรา 2-4 กิโลกรัม/ตร.ม. ระยะปลูก ฤดูฝน และฤดูหนาว 40×40 ซม. ฤดูแล้ง 40×30 ซม.

ข้อควรระวัง

กะหล่ำปลีแดง เป็นพืชที่มีความต้องการปุ๋ยปริมาณมาก โดยเฉพาะปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
ควรรองพื้นก่อนปลูกด้วยโบแรกซ์
การให้น้ำ ใช้สปริงเกอร์

การให้ปุ๋ย ประมาณ 5-7 วัน ควรมีการปลูกซ่อมกล้าที่ตาย เมื่อย้ายปลูกได้ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อย่างละ 20-25 กรัม/ตร.ม. และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่ออายุได้ 25-30 วัน และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อเริ่มเข้าหัว มีอายุ 45-50 วัน พร้อมกำจัด วัชพืช แล้วพ่นสารเคมีป้องกันศัตรูพืช ถ้ามีพบการเข้าทำลายของศัตรูพืช

ข้อควรระวัง

ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ฝนตกชุก และมีน้ำขัง แสงแดดน้อย
เป็นพืชที่้ต้องการปุ๋ยในปริมาณที่มาก หากปุ๋ยไม่เีพียงพอจะทำให้อายุการเจริญเติบโตยาวนานมากขึ้น
การเก็บเกี่ยว อายุ 90-100 วัน ตามฤดูกาล และสายพันธุ์

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของกะหล่ำปลีแดงในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ, โรคโคนเน่า, ด้วงหมัดผัก, เพลี้ยอ่อน,

ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ, ด้วงหมัดผัก, หนอนกระทู้ดำ, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้,

ระยะเข้าหัว 60-90 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าเละ, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนเจาะยอดกะหล่ำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้,

ระยะโตเต็มที่ 90-10 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าเละ, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนเจาะยอดกะหล่ำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้


จากเว็บ http://www.vegetweb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...