ชื่อ "ผักพาย"
วงศ์ "LIMNOCHARITACEAE"
ชื่อวิทยาศาสตร์ "Limnocharis flava Buch."
ชื่อพื้นเมือง "ผักพาย ผักตบใบพาย(อีสาน)
ค้นจ่อง(ขอนแก่น) ผักคันจอง(อุดรธานี)
ตาลปัตรฤาษี นางกวัก(ไทยกลาง) บอนจีน (ปัตตานี) บัวกวั๊ก(เหนือ) บัวลอย(แม่ฮ่องสอน)"
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักพายเป็นไม้น้ำ พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีน้ำขัง เช่น หนองน้ำ สระ คู ห้วย ผักพาย เป็นไม้ล้มลุก
อายุหลายปี ลำต้นเป็นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น ใบขึ้นเหนือผิวน้ำ บางครั้งมีไหลสั้นๆ จำนวนมาก ใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างกลมรี ยาว 15-18 ซม. กว้าง 12 ซม. มีก้านใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้ำก้านใบยาว
ประมาณ 30ซม.ก้านใบสีเขียวอ่อนเป็นเหลี่ยมอวบน้ำพองลม(คล้ายก้านใบผักตบ)เมื่อหักก้านใบจะพบมียาง
สีขาวซึมออกมา แผ่นใบใหญ่และแผ่คล้ายใบตาลแัตรดอกเป็นดอกช่อแบบร่ม มีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบ
ดอกสีเหลืองหลุดร่วงง่ายเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกย่อ ประมาณ 1.5 ซม.
การปลูก
การปลูกผักพายทำได้โดยใช้ต้นอ่อนแยกไปเพาะให้เจริญเติบโตหรือใช้วิธีเพาะเมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ผักพายช่วยเจริญอาหารและมีสรรพคุณป้องกันไข้หัวลม
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลต้นอ่อนก้านใบอ่อนและดอกอ่อนของผักพายสามารถรับประทานเป็นผักสดแกล้มแับส้ม
ตำลาบก้อยน้ำพริกและยังทำเป็นผักสุกโดยการลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริกชาวอีสานนำผักพายมาปรุงเป็นก้อยผัก
พาย ทำให้รสชาติของผักพายอร่อยมากขึ้น
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ผักพายมีรสหวานมันและออกขมเล็กน้อยช่วยเจริญอาหารกองโภชนาการกระทรวงสาธารณสุขได้วิเคราะห์
สารอาหารในผักตะสะปัดฤาษีหรือตะละปัดใบพายไว้ซึ่งคาดว่าจะเป็นชนิดเดียวกับผักพายเพราะภาคกลาง เรียกผักพายว่าตาลปัตรฤาษีผักตะละปัดฤาษี 100กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 14 กิโลแคลอรี่ ประกอบ
ด้วยเส้นใย 18 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน
501 ไมโครกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.08 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.2 มิลลิกรัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น