วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

ลางสาด (การปลูก)

ลางสาด มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่นได้แก่ มลายูเรียก ลาซะ ดูกู ไทยเรียก ลางสาด

มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า ลานเสท (Lancet), ลานเซียม (Langsium) และลานสาท (Langsat)

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ลานเซียม โดเมสติคัม (Lansium domesticum, Corr..)

จัดอยู่ในวงศ์ มีเลียซีอี้ (Meliaceae)

ลางสาดเป็นไม้ผลในสกุลเดียวกับลองกอง มีลักษณะใกล้เคียงกันมากแม้ว่าเกษตรกรจะนิยมปลูกลองกองมากกว่า เพราะผลผลิตมีรสชาติดี และขายได้ราคาดีกว่า แต่ลางสาดก็ยังจัดเป็นไม้ผลพื้นเมืองของไทยที่ให้ผลตอบแทนที่ดีอีกชนิดหนึ่ง

สถานการณ์ทั่วไป

ลางสาดเป็นไม้ผลในสกุลเดียวกับลองกองมีลักษณะใกล้เคียงกันมากแม้ว่าเกษตรกรจะนิยมปลูกลองกองมากกว่า
เพราะผลผลิตมีรสชาติและขยายได้ราคาดีกว่า แต่ลางสาดก็ยังจัดเป็นไม้ผลพื้นเมืองของไทยที่ให้ผลตอบแทนสูงอีกชนิดหนึ่ง

ลักษณะทั่วไปของพืช

ลางสาดเป็นไม้ผลเมืองร้อน (ร้อนชื้น) ที่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นและมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดปี ลักษณะของใบลางสาดจะบางกว่าลองกอง และใบหยักเป็นคลื่นน้อยกว่า (ร่องใบตื้นกว่า) ลักษณะอื่น ๆ ใกล้เคียงกับลองกอง

พื้นที่ส่งเสริม

แหล่งผลิตที่สำคัญ คือ อุตรดิตถ์ จันทบุรี สุโขทัย ชุมพร และ นครศรีธรรมราช

ประโยชน์ทางสมุนไพร

เปลือกผล มีสารโอเลอเรซิน ซึ่งมีสรรพคุณในการใช้แก้ท้องร่วง และบรรเทาอาการปวดท้อง

เปลือกต้น มีรสฝาด จึงมีสรรพคุณใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้

เปลือกต้น มีรสขม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ไข้

วิธีการปลูก

เหมือนลองกอง

ระยะปลูก

๔x๖ เมตร

จำนวนต้นต่อไร่

ประมาณ ๖๐ ต้น / ไร่

การใส่ปุ๋ย

๑. เพื่อป้องกันต้นหลังการเก็บเกี่ยว ปุ๋ยอินทรีย์ ๒๐ - ๕๐ กก. / ต้น

ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๕ - ๑๕ - ๑๕ หรือ ๑๖ - ๑๖ - ๑๖ ๑ - ๓ กก. / ต้น

๒. เพื่อส่งเสริมการดอกดอก (ช่วงปลายฝน)

ปุ๋ยเคมีสูตร ๘ - ๒๔ - ๒๔ หรือ ๙ - ๒๔ - ๒๔ ๒ - ๓ กก. / ต้น

๓. เพื่อบำรุงผล (ใส่ในช่วงที่ตาดอกกำลังยืดตัว)

๔. ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๓ - ๑๓ - ๒๑ ๒ - ๓ กก. / ต้น

การให้น้ำ

เหมือนลองกอง

การปฏิบัติอื่น ๆ

เหมือนลองกอง

แนวทางการส่งเสริม

เพื่อให้เกษตรกรสามารถจัดการสวนได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถผลิตลางสาดได้ ในปริมาณพอเหมาะ โดยที่ผลผลิตส่วนใหญ่มีคุณภาพดี และใช้ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม

๑. ส่งเสริมการรวมกลุ่มปรับปรุงคุณภาพผลผลิต

๒. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องตามขั้นตอนพัฒนาการของพืชให้ทั่วถึง

๓. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชลางสาดแบบผสมผสาน

๔. ส่งเสริมและพัฒนาเรื่องการจัดระบบให้น้ำในสวนลางสาดอย่างเหมาะสม

๕. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้อง

ปัญหาอุปสรรค

เกษตรกรปฏิบัติตามวิทยาการสมัยใหม่ไม่ครบถ้วนทำให้ ผลผลิต / ไร่ต่ำและ ผลผลิตส่วนใหญ่มีคุณภาพไม่ดี

๑. ปัญหาการอารักขาพืชไม่เหมาะสม

๒. การเก็บเกี่ยวไม่ถูกวัยเพราะไม่มีความรู้



จากเว็บ
http://www.doae.go.th/
http://www.watchari.com/




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...