วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ดาวเรือง

อาณาจักร Plantae

ส่วน Magnoliophyta

ชั้น Magnoliopsida

อันดับ Asterales

วงศ์ COMPOSITAE

สกุล Tagetes

สปีชีส์ T. erecta

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes Patulal French Marigold

ตระกูล Compositae-Asteraceae

ชื่อพฤกษาศาสตร์ Tagetes erecta

ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้และประเทศเม็กซิโก

วรรณคดีที่กล่าวถึง นิราศธารทองแดง

การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น สูง 20-50 ซม. ลำต้นกลม มักมีสีม่วงปน ใบประกอบ ใบย่อยหยักลึกสุดแบบขนนก เป็นแฉกรูปใบหอกถึงรูปแถบแคบ สีเขียวสดใบมันมีกลิ่นหอมเฉพาะ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆที่ปลายยอด มีด้วยกันหลายสี เช่น สีเหลืองสม สีส้ม สีแดง หรือมีหลายสีในดอกเดียวกัน ชึ่งดาวเรืองฝรังเศสเป็นชนิด 2 สีในดอกเดียวกัน โดยผู้ขายเรียกเป็นภาษาไทยว่า ดาวเรืองไข่ดาว ดอกวงในเป็นสีเหลืองสดหรือสีเหลือง ทองจำนวนมากเบียดกันแน่นเป็นรูปทรงกลมคว่ำ มีกลีบดอกวงนอกเป็นสีแดวสดหรือสีแดงซ้ำๆชั้นเดียว เรียงรอบขอบ กลีบดอกชั้นในทำให้ดูสวยงามน่ารักมาก ผลเป็นรูปแบนมีจำนวนมาก ดอกออกเมื่อต้นสมบูรณ์

ฤดูกาลออกดอก

ในช่วงปลายปีถึงต้นปี

สภาพการปลูก

ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นพรรณไม้ทีชอบแสงแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ชอบดินโปร่ง

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

การปลูกและดูแลรักษา

ดินที่ใช้ปลูกดาวเรืองฝรั่งเศสควรเพิ่มฟางแห้งสับละเอียด 2 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วนคลุกทุกอย่างให้เข้ากันจนได้ที่ ถ้าปลูกลงแปลงจำนวนหลายต้น ต้องยกแปลงปลูกให้สูง เกลี่ยดินหน้าแปลงให้เรียบ ปลูกห่างกัน 1 ฟุตต่อต้น ถ้าปลูกลงกระถางทำทางระบายน้ำก้นกระถางให้ดี นำไปตั้งในที่แจ้งรดน้ำด้วยบัวฝอยพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยขี้วัวหรือขี้ควายแห้ง โรยตามหน้าแปลงและใต้โคนต้นที่ปลูกในกระถาง สลับกับปุ๋ย16-16-16 เดือนละครั้ง จะทำให้มีดอกสวยงาม ซึ่งเมื่อดอกเริ่มแก่หรือโรยสามารถเก็บไปเพาะขยายพันธุ์ปลูกทดแทนได้

ดอกไม้สัญลักษณ์

ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ

การใช้ประโยชน์

ดอกดาวเรืองใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่างๆเพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ กลีบดอกดาวเรืองมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า xanthophyll สูง จึงมีการปลูกเพื่อเก็บดอกเพื่อเอาไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ไข่เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงสวยทดแทนสารสังเคราะห์

ดาวเรืองสะสมสารหนูได้ 42% ในใบ จึงมีประโยชน์ในการฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารหนู





กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...