โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata Poir.)
วงศ์ : RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น : กงกอน (ชุมพร); กงกางนอก (เพชรบุรี); กงเกง (นครปฐม); พังกาใบใหญ่ (ใต้)
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ไผ่ผลัดใบ ที่มีขนาดใหญ่ สูง ๓๐ – ๔๐ เมตร เปลือกหยาบสีเทาถึงดำแตกเป็นร่องทั้งตามยาวและขวาง หรือแตกเป็นร่องตารางสี่เหลี่ยม หากทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่ ด้านในของเปลือกจะเป็นสีเหลืองถึงส้ม รอบ ๆ โคนต้น มีรากค้ำจุนทำหน้าที่พยุงลำต้น บางครั้งพบว่ามีรากอากาศมีงอกจากกิ่งอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับทิศทางกัน แผ่นใบอวบใหญ่ รูปรีกว้าง หรือรูปรี ขนาด ๕ – ๑๓ x ๘ – ๒๔ ซม. ปลายใบแหลม มีติ่งแหลม เล็ก และแข็งฐานใบสอบเข้าหากันรูปลิ่ม ก้านใบสีเขียวยาว ๒.๕ – ๖ ซม. หูใบที่ปลายยอด สีเขียวอมเหลืองยาว ๕ – ๙ ซม. ใบเกลี้ยง ใบด้านบนสีเขียวอ่อน ท้องใบสีออกเหลือง มีจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่เต็มท้องใบ
ดอก ออกเป็นช่อที่ง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว ๓ – ๗ ซม. ก้านดอกย่อยยาว ๐.๔ – ๑ ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มี ๒ – ๑๒ ดอก กลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อน ๔ กลีบ รูปไข่แต่ละกลีบ มีขนาด ๐.๕ – ๐.๘ x ๑.๒ – ๑.๕ ซม. กลีบดอก ๔ กลีบ ร่วงง่าย สีขาว รูปใบหอก ยาว ๐.๖ – ๑ ซม. มีขนปกคลุมตามขอบ ออกดอกเดือนกันยายน – ตุลาคม
ผล รูปไข่ ยาว แคบลงทางส่วนปลายผล ขนาด ๒ – ๓.๕ x ๓ – ๘ ซม. สีน้ำตาล – เขียว มีตุ่มทั่วทั้งฝัก ขนาด ๑.๔ – ๑.๙ x ๓๐ – ๘๐ ซม. ฝักตรง โคนแหลม ใบเลี้ยงที่ยื่นออกมา ยาว ๒ – ๔ ซม. สีเขียว ฝักแก่เดือนมีนาคม – สิงหาคม
โกงกางใบใหญ่ ขึ้นได้ดีบริเวณที่เป็นดินเลนอ่อนและลึก ริมชายฝั่งทะเล ริมคลอง ที่น้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ และเป็นเวลานาน
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น