วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กระเจี๊ยบเขียว

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร พืช (Plantae)

ส่วน พืชดอก (Magnoliophyta)

ชั้น พืชใบเลี้ยงคู่ (Magnoliopsida)

อันดับ (Malvales)

วงศ์ (Malvaceae)

สกุล (Abelmoschus)

สปีชีส์ (A. esculentus)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench

ชื่อสามัญ : Okra

ชื่ออื่น : Lady's Finger

ประเทศอินเดียเรียกว่า บินดี (Bhindi) ส่วนประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนเรียกว่า บามี (Bamies)

ส่วนของประเทศไทยนั้นแบ่งแยกเป็นภาค ได้ดังนี้

ภาคกลาง : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทะวาย มะเขือมอญ

ภาคเหนือ : มะเขือพม่า มะเขือขื่น มะเขือมอญ มะเขือละโว้

ถิ่นกำเนิด
กระเจี๊ยบเขียวนั้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบ แอฟริกาตะวันตก ประเทศซูดาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น : มีขนหยาบและมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร

ใบ : ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายฝ่ามือเรียงสลับกัน และมีขนหยาบ

ดอก : มีสีเหลือง ที่โคนกลีบด้านในมีสีม่วงออกแดง ออกตามซอกใบ ก้านชูเรณูรวมกันเป็นลักษณะคล้ายหลอด

ฝัก : คล้ายนิ้วมือผู้หญิง ตามฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว ฝักอ่อนมีรสชาติหวาน

กรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว

แหล่งเพาะปลูก
ในประเทศไทยนั้นพื้นที่ที่มีการปลูกกระเจี๊ยบเขียวมาก ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง มีหลายจังหวัด ได้แก่ นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร พิจิตร กาญจนบุรี ราชบุรี ระยอง และนครนายก

สรรพคุณทางยา
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ลุกลาม รักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบายและสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย แต่ต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...