ชื่ออื่น ๆ : โสม (ภาคกลางป, ว่านผักปัง (เชียงใหม่), โทวหยิ่งเซียม (จีน)
อวิทยาศาสตร์ : Talinum paniculatum Gaertn.
วงศ์ : PORTULACACEAE
ลักษณะ ทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่อายุเพียงปีเดียว ลักษณะของลำต้นจะเตี้ยแจ้ติดดินเลย และมักจะแตกกิ่งก้านที่โคนต้นออกมา บริเวณที่โคนต้น มีเนื้อแข็งคล้ายไม้ มีรากแก้วใหญ่และเปลือกนอกสีน้ำตาล ลำต้นอาจจะสูงถึง 2 ฟุต
ใบ : ออกใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปมนรี ปลายมนหรือแหลมสั้น โคนใบเรียวแคบเล็กลงจนถึงก้านใบ พื้นใบเป็นสีเขียวเรียบ เป็นมันทั้งสองข้าง ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้วยาว 2-3 นิ้ว
ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ที่ส่วนยอดหรือปลายกิ่ง ดอกจะมีขนาดเล็ก คือบานเต็มที่ประมาณ 6 มม. มีอยู่ 5 กลีบสีม่วงแดง กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบร่วงง่าย เกสรกลางดอกมี 10 อัน
ผล : มีขนาดเล็ก กลม โตประมาณ 3 มม. เมื่อแก่เป็นสีเทาเมล็ดอยู่ภายในสีดำ
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบดินที่มีความชุ่มชื้นสูง คือดินที่ร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก
สรรพคุณ : ใบ แก้บวมอักเสบมีหนอง ขับน้ำนม
ราก บำรุงปอด แก้อาการอ่อนเพลียหรือหลังฟื้นไข้ ปัสสาวะขัด เหงื่อออกมาก ศีรษะมีไข้ ไอเป็นเลือด แก้ไอ บำรุงปอด ประจำเดือนผิดปกติ ท้องเสีย
ตำรับยา : 1. เหงื่อออกมากผิดปกติ ใช้รากแห้ง 60 กรัม ตุ๋นกับกระเพาะหมู 1 ใบกิน
2. สตรีหลังคลอด มีน้ำนมน้อย ให้ใช้ใบอ่อนของต้นโสมคน นำมาผัดกินเป็นอาหาร
3. ฝีอักเสบมีหนอง นำใบสดกับน้ำตาลทรายแดง ตำผสมให้ละเอียดและเข้ากันแล้วพอก
4. ท้องเสียเนื่องจากความเครียดหรือความกังวลมาก ใช้รากแห้ง 15-30 กรัมกับลูกพุทราจีน 15 กรัม ต้มกับน้ำกิน
5. ร่างกายอ่อนเพลียจากการตรากตรำทำงานหนัก หรือไอให้ใช้รากแห้ง หรือสดก็ได้ ผสมกับรากทงฮวยและน้ำตาลกรวด นำมาตุ๋นกับไก่กิน
6. ปัสสาวะมากผิดปกติ ใช้รากสดกับรากกิมเอ็งสด อย่างละ 60 กรัมต้มกับน้ำกินวันละ 2-3 ครั้ง
7. ไอเรื้อรังซึ่งเกิดจากปอด ใช้รากแห้ง หงู่ตั่วลักแห้งอย่างละ 30 กรัมและเจียะเชียงท้อแห้ง 15 กรัม และแบะตงแห้ง 10 กรัม ต้มผสมกันแล้วกินน้ำ
8.ฟื้นไข้ใหม่ ๆ จะเป็นยาบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี คือ ใช้รากแห้งกับรากโชยกึงป๊วกอย่างละ 30 กรัม และโหงวขี้ม่อท้อง 15 กรัม ต้มผสมกับน้ำกิน
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
วงศ์ : PORTULACACEAE
ลักษณะ ทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่อายุเพียงปีเดียว ลักษณะของลำต้นจะเตี้ยแจ้ติดดินเลย และมักจะแตกกิ่งก้านที่โคนต้นออกมา บริเวณที่โคนต้น มีเนื้อแข็งคล้ายไม้ มีรากแก้วใหญ่และเปลือกนอกสีน้ำตาล ลำต้นอาจจะสูงถึง 2 ฟุต
ใบ : ออกใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปมนรี ปลายมนหรือแหลมสั้น โคนใบเรียวแคบเล็กลงจนถึงก้านใบ พื้นใบเป็นสีเขียวเรียบ เป็นมันทั้งสองข้าง ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้วยาว 2-3 นิ้ว
ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ที่ส่วนยอดหรือปลายกิ่ง ดอกจะมีขนาดเล็ก คือบานเต็มที่ประมาณ 6 มม. มีอยู่ 5 กลีบสีม่วงแดง กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบร่วงง่าย เกสรกลางดอกมี 10 อัน
ผล : มีขนาดเล็ก กลม โตประมาณ 3 มม. เมื่อแก่เป็นสีเทาเมล็ดอยู่ภายในสีดำ
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบดินที่มีความชุ่มชื้นสูง คือดินที่ร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก
สรรพคุณ : ใบ แก้บวมอักเสบมีหนอง ขับน้ำนม
ราก บำรุงปอด แก้อาการอ่อนเพลียหรือหลังฟื้นไข้ ปัสสาวะขัด เหงื่อออกมาก ศีรษะมีไข้ ไอเป็นเลือด แก้ไอ บำรุงปอด ประจำเดือนผิดปกติ ท้องเสีย
ตำรับยา : 1. เหงื่อออกมากผิดปกติ ใช้รากแห้ง 60 กรัม ตุ๋นกับกระเพาะหมู 1 ใบกิน
2. สตรีหลังคลอด มีน้ำนมน้อย ให้ใช้ใบอ่อนของต้นโสมคน นำมาผัดกินเป็นอาหาร
3. ฝีอักเสบมีหนอง นำใบสดกับน้ำตาลทรายแดง ตำผสมให้ละเอียดและเข้ากันแล้วพอก
4. ท้องเสียเนื่องจากความเครียดหรือความกังวลมาก ใช้รากแห้ง 15-30 กรัมกับลูกพุทราจีน 15 กรัม ต้มกับน้ำกิน
5. ร่างกายอ่อนเพลียจากการตรากตรำทำงานหนัก หรือไอให้ใช้รากแห้ง หรือสดก็ได้ ผสมกับรากทงฮวยและน้ำตาลกรวด นำมาตุ๋นกับไก่กิน
6. ปัสสาวะมากผิดปกติ ใช้รากสดกับรากกิมเอ็งสด อย่างละ 60 กรัมต้มกับน้ำกินวันละ 2-3 ครั้ง
7. ไอเรื้อรังซึ่งเกิดจากปอด ใช้รากแห้ง หงู่ตั่วลักแห้งอย่างละ 30 กรัมและเจียะเชียงท้อแห้ง 15 กรัม และแบะตงแห้ง 10 กรัม ต้มผสมกันแล้วกินน้ำ
8.ฟื้นไข้ใหม่ ๆ จะเป็นยาบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี คือ ใช้รากแห้งกับรากโชยกึงป๊วกอย่างละ 30 กรัม และโหงวขี้ม่อท้อง 15 กรัม ต้มผสมกับน้ำกิน
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น