วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

มะลิลา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac (L.) Aiton

ชื่อสามัญ: Arabian Jasmine, Jusmine, Kampopot

ชื่ออื่น: มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิป้อม (ภาคเกนือ), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), ข้าวแตก (ฉาน-แม่อ่องสอน), เตียมุน (ละว้า-เชียงใหม่), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่)

วงศ์: OLEACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้พุ่ม แกมเถา กิ่งอ่อนมีขนสั้นๆ สีขาว

ใบ ใบเรียงตรงข้าม ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่ รีหรือรีขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. โคนใบมนหรือสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมัน ด้านท้องใบเห็นเส้นใบชัดเจน เส้นใบขนาดใหญ่มี 4-6 คู่ ก้านใบสั้นมากและมีขน

ดอก ดอกช่อออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน โคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5-8 กลีบ เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน มีกลิ่นหอมแรง แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมเหลืองอ่อน ส่วนปลายแยกเป็น เส้น เกสรเพศผู้ 2 อันติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว มักไม่ติดผล




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...