
วงศ์ Anonaceae
ชื่อพื้นเมือง เหนือ นอแน่ มะแน่, ตะวันออกเฉียงเหนือ หมักเขียบ. ปัตตานี ลาหนัง, เขมร เตียบ
ลักษณะทั่วไป
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน กิ่งเปราะ
ใบ เดี่ยว ใบออกสลับกัน สีของใบเขียวอ่อน รูปใบยาวรีโคนและปลายใบแหลม แผ่นใบบาง
ดอก เดี่ยว ออกตามซอกใบ ห้อยลง สีเหลืองอมเขียว กลีบดอกหนา รูปหอก มี 3 กลีบ
ผล ขนาดใหญ่ เป็นผลชนิด aggregate ผิวผลเขียวอ่อน และแข็ง เมื่อลูกผิวผลสีเหลืองอมเทาขาว ๆ นิ่ม ผิวผลขระขระเป็นร่อง ๆ เมล็ดสีขาวอมน้ำตาล มีเนื้อสีขาวค่อนข้างแข็งหุ้ม เมือผลสุก เมล็ดเปลี่ยนสภาพเป็นสีดำ ผิวมัน เนื้อที่หุ้มนิ่ม และมีรสหอมหวาน
ส่วนที่ใช้ ใบสด เนื้อในสีขาวของเมล็ดแก่
สารที่สำคัญ มีอัลคาลอยด์ anonaine, 1-benzyl-isoquinoline, bisbenzl-isoquinoline
บำบัดอาการ แก้เหา
ขนาดและวิธีการใช้
ใช้ใบ 10 - 12 ใบ หรือเมล็ด 10 - 12 เมล็ด ที่กระเทาะเอาแต่เนื้อ ตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืช ใช้อัตราส่วน 1/2 ทาชะโลมบนเส้นผม ทิ้งไว้ 1/2 - 1 ชม. ขณะทายาให้ผ้าโพกกนน้ำยาไหลเข้าตา จากนั้นสระออกให้สะอาด ทำติดต่อกัน 2 - 3 วัน วันละหลาย ๆ ครั้ง ตัวจะตาย ไข่จะฝ่อ
ข้อควรระวัง
-การใช้สมุนไพรอย่าใช้มาก โดยเฉพาะเมล็ดจะมีฤทธ์แรงกว่าใบ
-สมุนไพรใช้มากน้อยกว่ากำหนดได้เล็กน้อย ถ้าผมยาวหรือสั้น
-อย่าให้น้ำยาเข้าตา ตาจะอักเสบ
-อย่าชะโลมยาไว้เกิน 1 ชม.
-ต้องสระออกให้หมด
สถานการณ์ทั่วไป
น้อยหน่าเป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย ให้ผลดก ทนแล้ง เป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วไป ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ ผลผลิตบางส่วนส่งไปจำหน่ายประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์
ลักษณะทั่วไปของพืช
น้อยหน่าเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน ทรงพุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 2 - 5 เมตร สามารถเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกประเภท แต่ต้องมีการระบายน้ำดี มีสภาพเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5 - 7 น้อยหน่าเป็นพืชที่ชอบอากาศแล้ว ไม่ชอบที่ชื้นและน้ำขังแฉะเนื่องจากต้องมีระยะแล้งในเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เพื่อการทิ้งใบในการแตกใบใหม่และดอกน้อยหน่าอายุ 2 ปี จะเริ่มให้ผลและจะให้ผลดีอีก 2 - 3 ปี หลังจากนั้นต้นจะเริ่มโทรมต้องตัดแต่งและบำรุงต้น ปกติต้นน้อยหน่าจะมีอายุ 8 -10 ปี จะเริ่มโทรมให้ผลขนาดเล็กและรูปร่างไม่สวยงาม จึงต้องตัดทิ้งปลูกต้นใหม่แทน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลบำรุงต้นด้วย ระยะเวลาตั้งแต่ดอกบานถึงเก็บเกี่ยวผลประมาณ 4 เดือน ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นน้อยหน่าที่ให้ผลผลิตเต็มที่ประมาณ 30 - 50 กิโลกรัม น้ำหนักผลน้อยหน่าอยู่ระหว่าง 5 - 10 ผล/กิโลกรัม ฤดูกาล เก็บเกี่ยวผลผลิตระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน
พื้นที่ส่งเสริม
พื้นที่เหมาะสมเชิงธุรกิจและพื้นที่ปลูกที่สำคัญ จังหวัด นครราชสีมา ชัยภูมิ สระบุรี เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
วิธีการปลูก
1. ควรปลูกในช่วงฤดูฝน
2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
3. ผสมดิน ปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 5 กิโลกรัม ประมาณ 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
4. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
5. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
6. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
7. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
8. กดดินบริเวณโดนต้นให้แน่น
9. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลดพัดโยก
10. หาวัสดุคลุดดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
11. รดน้ำให้ชุ่ม
12. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
ระยะปลูก
3 x 3 เมตร
จำนวนต้นต่อไร่
จำนวนต้นเฉลี่ย 150 ต้น/ไร่
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
1. ต้นที่ยังไม่ให้ผลผลิตใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 - 3 ครั้ง
2. ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ยดังนี้
- บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
- ระยะสร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24
- บำรุงผล ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
- ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21
ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นและผลผลิตบนต้น ซึ่งอัตราที่ใช้อยู่ระหว่าง 2 - 4 กิโลกรัม/ต้น/ปี
การให้น้ำ
ในระยะปลูกใหม่ จำเป็นต้องให้น้ำสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้อยหน่าเจริญเติบโตได้เร็ว จำนวนรอดตายสูง น้อยหน่าเริ่มติดผลได้ในปีที่ 2 การให้น้ำแก่ต้นน้อยหน่าสม่ำเสมอจะทำให้ขนาดของผลและคุณภาพผลดี
การปฏิบัติอื่น ๆ
น้อยหน่าที่ให้ผลในระยะ 2 - 3 ปีแรก ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง เพราะยังให้ผลขนาดใหญ่อยู่จะต้องตัดแต่งบ้างก็เป็นกิ่งที่สูงเกินไป กิ่งฉีกหัก กิ่งแก่ กิ่งไม่สมบูรณ์ ส่วนการตัดแต่งกิ่งครั้งใหญ่ จะเริ่มตัดแต่งกิ่งเมื่อน้อยหน่าอายุประมาณ 4 - 8 ปี ซึ่งต้นจะเริ่มเสื่อมโทรม ผลเล็ก รูปร่างไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้นและการบำรุงรักษาเป็นสำคัญ
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
1. ระยะแตกใบอ่อน ศัตรูพวกหนอนกินใบ ป้องกันโดยพ่นคาร์บาริล
2. ระยะออกดอก ศัตรูหนอนกัดกินดอกอ่อน ป้องกันโดยพ่นสารคาร์บาริล
3. ระยะติดผล โรคมั่นมี่ ป้องกันโดยพ่นสาร แคบแทน ไดเทนเอ็ม 45 โฟลิดอลและเพลี้ยแป้ง ป้องกันโดยพ่นสารคลอไพริฟอส ผสม ไซเปอร์เมทริน
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
1. ดัชนีการเก็บเกี่ยว ผลน้อยหน่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 110 - 120 วัน จากดอกบานโดยสังเกตร่องตาน้อยหน่าเริ่มห่างและสีร่องตาเข้ม ผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมเหลือง สำหรับน้อยหน่า-หนัง สำหรับพันธุ์สีครั้งจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2. การเก็บเกี่ยว โดยใช้มือปลิดผลติดขั้ว ถ้าอยู่สูงจะใช้ไม่ง่ามสอย ลงมาปลดผล ใส่ตะกร้า นำมาคัดขนาด และบรรจุผลใส่ภาชนะบรรจุ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ โดยรองด้วยใบตอง
3. อายุการเก็บรักษา หลังจากขนส่งน้อยหน่าส่งตลาดผลผลิตจะเริ่มสุก ขึ้นอยู่กับความแก่ของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวปกติอายุการวางขยายผลผลิต จะอยู่ระหว่าง 3 - 5 วัน
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
1. ดัชนีการเก็บเกี่ยว ผลน้อยหน่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 110 - 120 วัน จากดอกบานโดยสังเกตร่องตาน้อยหน่าเริ่มห่างและสีร่องตาเข้ม ผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมเหลือง สำหรับน้อยหน่า-หนัง สำหรับพันธุ์สีครั้งจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2. การเก็บเกี่ยว โดยใช้มือปลิดผลติดขั้ว ถ้าอยู่สูงจะใช้ไม่ง่ามสอย ลงมาปลดผล ใส่ตะกร้า นำมาคัดขนาด และบรรจุผลใส่ภาชนะบรรจุ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ โดยรองด้วยใบตอง
3. อายุการเก็บรักษา หลังจากขนส่งน้อยหน่าส่งตลาดผลผลิตจะเริ่มสุก ขึ้นอยู่กับความแก่ของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวปกติอายุการวางขยายผลผลิต จะอยู่ระหว่าง 3 - 5 วัน
ปัญหาอุปสรรค
คุณภาพผลผลิตชอกช้ำและเน่าเสียง่าย มีการสูญเสียในระหว่างการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวมาก
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น