วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ละหุ่ง

ชื่ออื่น ๆ : ละหุ่งแดง, ละหุ่งขาว, จีนเรียกว่า ปีมั้ว

ชื่อสามัญ : Castor-Oil Plant

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ricinus communis Linn.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะ ทั่วไป


ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีอายุอยู่ได้หลายปี ในบ้านของเราจะมีทั้งละหุ่งขาว และละหุ่งแดง ซึ่งละหุ่งขาวนี้ลำต้นเป็นสีเขียว ละหุ่งแดงลำต้นและก้านใบเป็นสีแดง

ใบ : ออกใบเดี่ยว ลักษณะของใบจะจักแหลม คล้ายกับฝ่ามือเป็นแผ่นกว้าง ถ้าเป็นละหุ่งขาวก้านใบก็เป็นสีเขียว แต่ถ้าเป็นละหุ่งแดงก้านใบก็เป็นสีแดง

ดอก : ออกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น หรือตรงง่ามใบ ดอกเป็นสีแดง ดอกเพศผู้และเพศอยู่ต่างดอกกัน แต่จะอยู่บนต้นเดียวกัน


ผล : มี 3 พู และมีหนาม ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ซึ่งเปลือกเมล็ดนี้ จะเป็นจุดสีน้ำตาลอมเทาคล้ายกับตัวเห็บ เนื้อในสีขาว

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย แต่ถ้าปลูกในที่อากาศเย็นต้นจะไม่สูง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เมล็ด

สรรพคุณ : เมล็ด ภายในเมล็ดละหุ่งจะประกอบไอด้วยน้ำมัน ซึ่งนำมาทำเป็นยาระบาย น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
อุตสาหกรรม ทำสี ทำหมึกพิมพ์ เครื่องสำอาง สบู่ แต่ก่อนที่เราจะนำมาทำเป็นยานั้นจะต้องทำลายสารที่เป็นพิษเสียก่อน โดยการนำไปหุง หรือสะตุ เสียก่อน ถ้าไม่เอาออกจะเป็นอันตรายต่อผนังลำไส้ได้

อื่น ๆ : เมื่อนำเมล็ดละหุ่งมาบีบเอาน้ำมัน สารโปรตีนที่เป็นพิษโรซิน จะคงอยู่ในกาก ไม่เหมาะสมที่จะนำไปบริโภค หรือเลี้ยงสัตว์เหมาะที่จะทำเป็นปุ๋ยมากกว่าคือจะมีสารพวก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซี่ยม

ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอินเดีย แต่จะมีปลูกทั่ว ๆ ไปในเขตร้อน เช่น แอฟริกา อเมริกาใต้ หมู่เกาะอินดีสตะวันตกยุโรปตอนใต้ และอินโดนีเซียอาคเนย์

ศัตรูที่สำคัญ
- หนอนคืบละหุ่ง ใช้ยาเคมี เซฟิน 85 % แลนเนท 90 % ริฟคอร์ด 15 %
- เพลี้ยจักจั่น ใช้ยา เซฟวิน 85 % แลนเนท 90 % ลอร์สแบน 20 %
- หนอนเจาะผลละหุ่ง ใช้ยาอะโซดริน 56 % นูวาครอน 56 %

การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวเมื่อละหุ่งแก่หมดทั้งช่อ แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง แล้วใช้ไม้ทุบเบา ๆ ให้เปลือกแตก หรือใช้เครื่องกะเทาะเมล็ดละหุ่ง เสร็จแล้วจึงนำไปผัดเอาเปลือกออก.

ผลผลิต
165 – 180 กก./ ไร่ น้ำหนักเมล็ดละหุ่งทั้งเปลือก 100 กก. เมื่อกะเทาะเปลือกแล้วจะได้น้ำหนักเมล็ดละหุ่งประมาณ 67 กก

การเก็บรักษา
ควรเก็บเมล็ดละหุ่งที่กะเทาะพร้อมฝัดแล้วใส่กระสอบเก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก และควรมีไม้รองที่ก้นกระสอบ







กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...