วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ลางสาด

ชื่ออื่น ๆ : รังสาด รางสาด (ไทย) ละซะ ดูกู (มลายู)
ชื่อสามัญ : Langsat, Duku

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lansium donesticum Corea.

วงศ์ : MELIACEAE

ลักษณะทั่วไป ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก

ใบ : จะเป็นใบประกอบ มีใบย่อยเป็นแบบขนนก จะออกสลับกัน

ดอก : จะออกเป็นช่อ เป็นพวงสีเหลือง

ผล : ลักษณะผลจะเป็นรูปไข่ ออกเป็นพวงตามลำต้นหรือกิ่งที่แก่เปลือกผลจะมีขนนิ่ม เป็นสีนวล และมียางเป็นสีขาว ผลจะมีรสอมเปรี้ยว เป็นผลไม้ที่มีรสดี ส่วนเนื้อที่หุ้มเมล็ดนั้นจะมีลักษณะใส ในผลหนึ่งจะมีเมล็ดประมาณ 1-5 เมล็ด เปลือกผลนั้นจะบาง และมียางมาก

การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง

ส่วนที่ใช้ : เนื้อ เปลือกต้น เปลือกผล เมล็ด

สรรพคุณ : เนื้อ ใช้เป็นอาหาร จัดเป็นผลไม้ที่มีรสดีมากชนิดหนึ่ง เปลือกต้น จะมีรสฝาด ใช้เป็นยาต้มกิน รักษาเกี่ยวกับโรคลำไส้ เปลือกผล จะประกอบด้วย น้ำมันชัน (oleoresin) แต่ไม่มีพิษ ใช้เป็นยารักษาอาการท้องร่วง และอาการปวดท้อง เปลือกผลใช้เผา เป็นยาไล่ยุงได้เมล็ด จะมีรสขม ซึ่งประกอบด้วยสารอัลกาลอยด์ในปริมาณน้อย ส่วนสารที่มีรสขมนั้น เป็นพิษ ในสมัยโบราณใช้เป็นยาขับพยาธิ และรักษาอาการไข้

อื่น ๆ : รางสาดมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดที่มียางมากคือชนิดที่เราเรียกกันว่า รังสาด (Langsat) ส่วนอีกชนิดหนึ่งมีรสหวานกว่า และมียางน้อยกว่า คือ ชนิดที่เราเรียกว่า ลองกอง (Duku) ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ เป็นผลไม้ที่อร่อยดี แต่ถ้ากินมากอาจทำให้เกิดอาการร้อนในได้

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศมาเลเซีย แต่ในปัจจุบัน มีปลูกกันในเขตร้อนทั่ว ๆ ไป




จากเว็บ http://health.spiceday.com/

กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...