วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

ขาไก่

วงศ์ Polypodiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pyrrosia stigmosa (Sw.) Ching

ชื่อท้องถิ่น ขาไก่ (กลาง) ลิ้นผีไม้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นเป็นเหง้าเลื้อยสั้น ขนาดเหง้า เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้มถึงดำ ปกคลุมด้วยเกล็ดหนาแน่น มีเกล็ดปกคลุมบริเวณปลายเหง้า เกล็ดรูปไข่ปลายเป็นหางยาว ขนาดเกล็ด ที่โคน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร ยาว 6 มิลลิเมตร บริเวณกลางเกล็ดสีเกือบดำ ขอบเกล็ดและหางสีน้ำตาลเข้ม ยาว 6-7 มิลลิเมตร กว้าง 0.4-1.2 มิลลิเมตร โคนตัด ขอบเรียบ ปลายเรียวแหลม ยาวคล้ายหาง ก้านใบ กลม ผิวเกลี้ยง สีเขียว แต่มักเห็นเป็นสีน้ำตาล เนื่องจากมีขนปกคลุมแน่น บริเวณโคนก้านมีเกล็ด ปกคลุมแน่น เกล็ดรูปร่างแบบที่เหง้า และตลอดความยาวก้านมีขนปกคลุมแน่น ขนสีน้ำตาล ทำให้ดูก้านเป็นสีน้ำตาล ก้านใบยาว 8-20 เซนติเมตร กว้าง 2-3 มิลลิเมตร สีน้ำตาลแกมแดง มีรอยต่อกับลำต้น มีขนรูปดาวสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่นทั่วก้านใบ มีร่องด้านบน ใบรูปหอกหรือขอบขนาน ยาว 28-35 เซนติเมตร กว้าง 3.5-5 เซนติเมตร โคนรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบหนาคล้ายหนัง ผิวใบด้านบนค่อนข้างเกลี้ยงเป็นมัน สีเขียวเข้ม มีรูหยาดน้ำกระจายทั่วแผ่นใบ เส้นกลางใบและเส้นใบด้านล่างนูนเป็นสันชัดเจน ด้านบนเป็นร่อง เส้นใบร่างแหไม่ชัดเจน กลุ่มอับสปอร์ รูปกลม ขนาดเล็ก กลุ่มอับสปอร์เกิดกระจายเฉพาะบริเวณครึ่งบนของแผ่นใบ หรือกระจายตั้งแต่ปลายใบถึงโคนใบ
(ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...