วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

ว่านมหากาฬ

ว่านมหากาฬ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura pseudochina (L.) DC.
var. pseudochina
ชื่อวงศ์ : Compositae

ชื่อพื้นเมือง : ผักกาดกบ หนาดแห้ง ผักกาดดง คำโคก
ผักกาดดิน ผักกาดนกเขา

ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้หัว

ขนาด [Size] : สูง <>

สีดอก [Flower Color] : สีเหลือง

อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง

ลักษณะนิสัย [Habitat] : ขึ้นได้ในดินทั่วไป

ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง

แสง [Light] : แดดเต็มวัน Additional Images

ลักษณะทั่วไป
ว่านมหากาฬเป็นพันธุ์ไม้เลื้อย มีหัวอยู่ใต้ดิน เนื้อของหัวเป็นสีขาว ใบมีลักษณะคล้ายใบผักกาด ใบหนาและแข็ง พื้นใบสีเขียวอ่อน มีลายสีม่วงซีดๆ บนใบ ใบอ่อนจะเป็นสีม่วงแก่ ตามแขนงใบเป็นสีขาว ก้านใบเมื่อแก่จะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว ดอกมีลักษณะเป็นฝอยก้านดอกยาว มีสีเหลือง คล้ายดอกดาวเรืองแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก

ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบต้น ใบรูปรียาวถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 2.5-8 เซนติเมตร ยาว 6-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักหรือเว้าเป็นพูตื้นๆ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบน สีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมทั่วใบ ผิวใบด้านล่างสีเขียว แกมเทา

ดอก (Flower) : สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นจากต้น ก้านช่อดอกยาว

ผล (Fruit) : ผลแห้ง เมล็ดล่อน ปลายมีขน

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ปลูกลงแปลงประดับสวน คลุมดิน ใบมีลวดลายสวยงาม ปลูกริม น้ำตก ลำธาร



การปลูก
ควรปลูกในดินปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี รดน้ำแต่พอดินชุ่มเท่านั้น เพราะว่านมหากาฬไม่ชอบดินแฉะซึ่งจะทำให้ใบเน่าได้ง่าย ควรให้ได้รับแสงแดดปานกลาง



การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ



ความเป็นมงคล
เชื่อกันว่าเป็นว่านที่มีอำนาจ หากปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้าน นอกจากสามารถป้องกันอันตรายทั้งปวงได้แล้ว ยังทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมีอำนาจบารมีเป็นที่เกรงขามของคนทั่วไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...