วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน (Khamin-chun, Khamin-kaeng), Turmeric

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn.,

Syn.: C. domestica, Valeton.

วงศ์ Zingiberaceae

ชื่ออื่นๆทั่วไป : ขมิ้น (Khamin)

ภาคเหนือ : เข้ามิ้น (Kha-min)

เชียงใหม่ : ขมิ้นป่า (Khamin-pa) ขมิ้นหัว (Khamin-hua) ขมิ้นหยวก (Khamin-yuak) ขมิ้นแกง (Khamin-kaeng)

กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร : ตายอ (Tha-yor)

ภาคใต้ : หมิ้น (Min) ขี้มิ้น (Khi-min)

ถิ่นกำเนิด ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย จีน

รูปลักษณะ ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-3 ฟุต ก้านสั้น และใบริ้วหยัก เหง้าจะสั้นและหนา
ลักษณะ พืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันมีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด
มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาวปลายแหลมคล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ออกตรงกลางระหว่างใบคู่ในสุดดอกสีขาว มีแถบสีเหลืองคาด มีกลีบประดับสีขาวหรือเขียว

ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา คือ เหง้า (สดและแห้ง)

เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด

การใช้ขมิ้นชัน แก้แพ้แก้อักเสบ แผล ฝีพุพอง แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอก โดยใช้เหง้ายาวประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้นโรยทาบริเวณที่มีอาการ ผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้

อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดและอาหารไม่ย่อย ใช้เหง้าขมิ้น ไม่ต้องปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด ๆ สัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ถ้ามีอาการท้องเสียให้หยุดยาทันที

นอกจากโรคเกี่ยวกับท้องแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและช่วยบำรุงตับ รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศีรษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบอีกด้วยคะเพราะว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้นกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และมีการศึกษาการใช้ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะในประเทศไทย (โรงพยาบาลศิริราช) พบว่า ได้ผลดีพอควร

การค้นพบสรรพคุณใหม่ๆ ของขมิ้นชันอีกมากมาย เช่น การป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด การชลอความแก่ การเป็นสารต้านมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ พบว่า การกินอาหารผสมขมิ้นสามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้งสามารถป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่างๆ และยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยเอดส์

แต่การเลือกขมิ้นชันมากินนั้น หากต้องเลือกเอง ขุดเอง ควรเลือกขมิ้นชันที่ได้คุณภาพ คือ ขมิ้นชันต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน จึงสามารถขุดเหง้ามาทำยาได้ และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป จนน้ำมันหอมระเหยหายหมด และต้องไม่ลืมว่า แสงมีปฏิกิริยากับสาระสำคัญคือ เคอร์คิวมินในขมิ้นชัน จงต้องเก็บให้พ้นแสงด้วยนะคะ มิฉะนั้นจะได้รับประทานแต่การขมิ้นชันแน่ๆ คะ

จะเห็นได้ว่าขมิ้นชันนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทาและกินเชียวนะคะ

ในสมัยก่อนนั้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้านของไทยได้มีการนำขมิ้นมาใช้ประกอบอาหารหลายชนิด ใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหาร โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้น เป็นต้น นับเป็นความฉลาดของคนใต้ ที่หาวิธีกินขมิ้นในชีวิตประจำวัน

สำหรับสาวๆ แล้วการใช้ขมิ้นทาผิวหน้าจะทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้น จะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้วจึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอกของขน ผู้หญิงอินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนัง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก คนพม่าเชื่อว่าถ้าใช้ขมิ้นผสมสมุนไพร ที่ชื่อทาคาน่า ทาผิวเด็กสาวตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เนื้อผิวละเอียดสวยชนิดที่หนุ่มมองได้ไม่วางตาเชียวคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...