วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Languas galanga (L.) stuntz

วงศ์ Zingiberaceae

ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)

ลักษณะของพืช
ข่ามีลำต้นที่อยู่ใต้ดิน เรียกว่าเหง้า เนื้อในมีสีเหลืองกลิ่นหอม
เฉพาะลำต้นที่อยู่เหนือดินสูงได้ 2 เมตร
ใบสีเขียวอ่อนสลับกัน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่นอ สีนวลขาว

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่

การปลูก
ปลูกโดยใช้เหง้า ข่าชอบที่ดอน ดินร่วนซุย มีอาหารอุดมสมบูรณ์
และความชุ่มชื้นเหมาะสม ไม่ชอบน้ำขัง การปลูกโดยพรวนดินให้ร่วน จึงขุดแง่งข่าออกมาจากกอเดิม
นำเอามาแบ่งให้ยาวประมาณ 1 คืบ ให้มีรากติดด้วย ฝังในหลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้ กลบดินรดน้ำให้ชุ่ม

รสและสรรพคุณยาไทย เหง้าข่ามีรสเผ็ด ขับลม แก้บวม ฟกช้ำ

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงเวลาที่เหง้าแก่

วิธีใช้
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ทำได้โดยใช้เหง้าแก่ของข่าสดหรือแห้ง
ขนาดเท่าหัวแม่มือต้มกับน้ำดื่ม กลากเกลื่อน เอาหัวข่าแก่ล้างให้สะอาด
ฝานออกเป็นแว่นบางๆหรือทุบให้แตก เอาไปแช่เหล้าโรงทิ้งไว้ 1 คืน
ทำความสะอาดบริเวณที่เป็น เอายามาทาบริเวณที่เป็น จนกว่าจะหาย

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
เหง้าข่าประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)
ในน้ำมันนี้ยัง ประกอบด้วยสารชนิด cinnamate,cineol,
eugenol camphor, pinenes เป็นต้น
น้ำมันนี้มีฤทธิ์ต้านเชื้อราต่างๆ มีฤทธิ์ขับลมต้านเชื้อแบคทีเรีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...